รัฐธรรมนูญประชามติ กับการเข้าถึงสิทธิของประชาชน

Main Article Content

Rosana Tositrakul

Abstract

     ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ ฉบับที่ถูกเรียกขานว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชามติฉบับแรกของประเทศไทย ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งจากฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว เหตุผลของฝ่ายสนับสนุนจะยกประเด็น เรื่องสิทธิของประชาชนที่มีการบัญญัติเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเมื่อเทียบกับรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ส่วนฝ่ายที่คัดค้าน เพราะเนื้อหาในส่วนที่เป็นโครงสร้างหลัก ไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะขาดการยึดโยงกับประชาชน เป็นการย้ายขั้วอานาจกลับไปให้กลุ่มข้าราชการ โดยเฉพาะกลุ่มข้าราชการตุลาการและศาลเป็นหลัก ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติจึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นอามาตยาธิปไตย


     ประชาชนจานวนมากรู้สึกถูกมัดมือชกโดยไม่มีทางเลือก ไม่ว่ารับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะกระแสการสนับสนุนและคัดค้านถูกทาให้เสมือนกลายเป็นการลงมติเลือกข้างระหว่างการรับรองความชอบธรรมของคณะรัฐประหาร หรือ การสนับสนุนฝ่ายของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยไม่มีพื้นที่ให้กับประชาชนที่ไม่รับทั้งคณะรัฐประหาร และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทาให้ผู้ที่จะลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะไม่พอใจในเนื้อหา แต่ไม่ต้องการให้ตนเองไปประทับตราว่าเป็นฝ่ายของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร อาจจะเลือกวิธีการทาบัตรเสีย หรือไม่ไปลงประชามติ


     ส่วนผู้ที่ตัดสินใจจะลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ ก็มีหลากหลายเหตุผล ที่เป็นประเด็นสนับสนุนเหตุผลประการหนึ่ง ยอมรับว่าหมวดของสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ แม้ว่าจะไม่พึงพอใจเนื้อหาอื่น ๆ ในอีกหลายมาตรา ก็คิดว่าจะสามารถเข้าไปขอแก้ไขรัฐธรรมนูญในภายหลังได้ เหตุผลอีกประการหนึ่งคือ ต้องการให้บ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติ มีการเลือกตั้ง โดยคาดหวังว่าเศรษฐกิจหลังเลือกตั้งจะฟื้นคืนสู่สภาพปกติ และเพื่อให้คณะรัฐประหารสลายตัวไป อีกบางเหตุผลก็คือ ไม่แน่ใจว่าถ้าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อาจจะได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่เลวร้ายกว่าฉบับที่แลเห็น และเหตุผลที่สาคัญอีกประการหนึ่งของกลุ่มที่จะลงมติรับร่าง ก็คือ เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ในการต่อต้านฝ่ายของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

Article Details

How to Cite
tositrakul, rosana . (2020). รัฐธรรมนูญประชามติ กับการเข้าถึงสิทธิของประชาชน. King Prajadhipok’s Institute Journal, 5(2). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244681
Section
Original Articles

References

อนาคตของประเทศไทยควรดาเนินไปในรูปใดปาฐกถาในการชุมนุมสนทนาที่สามัคคีสมาคม(สมาคมนักเรียนไทย)ประเทศอังกฤษ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๑๖, จากรวมข้อเขียนของนายปรีดี พนมยงค์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐.

ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ และพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ฉบับ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ , การเสวนาในวาระครบรอบ ๗๕ ปี การอภิวัฒน์ไทย ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕, สถาบันปรีดี พนมยงค์ , มิถุนายน ๒๕๕๐

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐.

ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเบื้องต้นกับการร่างรัฐธรรมนูญ,รวมข้อเขียนของนายปรีดี พนมยงค์, ปรีดี พนมยงค์ กับสังคมไทย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , โครงการปรีดีกับสังคมไทย, สิงหาคม ๒๕๒๖.