ปฏิบัติการของกลุ่ม องค์กร ขบวนการประชาสังคม ชนบทไทย กับนัยะของการเมืองภาคพลเมือง

Main Article Content

Narong Bunsuaikhwan

Abstract

     บทความนี้เป็นการวิเคราะห์สังเคราะห์ “รูปแบบปฏิบัติการ” ของกลุ่ม องค์กร ขบวนการประชาสังคมในพื้นที่ลุ่มน้้าปากพนัง ซึ่งเป็น “รูปแบบปฏิบัติการ” ของประชาสังคมในพื้นที่แห่งนี้ชนบท ที่ประกอบขึ้นจากกลุ่มคนหรือขบวนการคนชายขอบจากการพัฒนาของรัฐบาลกลาง นับว่าเป็นบทบาทของการเมืองภาคพลเมืองในบริบทสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมเปิดพื้นที่ให้มีการเคลื่อนไหวทางสังคมขององค์กรทางสังคมต่างๆ ดังนั้น “รูปแบปฏิบัติการ” ของกลุ่มองค์กรทางสังคมจึงมีความน่าสนใจในประเด็นที่มีคุณลักษณะต่างกันไปหลายรูปแบบ ซับซ้อนและนับวันที่ปฏิบัติการเหล่านี้กลายเป็นรูปแบบปฏิบัติการที่ตอบโต้รัฐบาลกลางที่น่าสนใจมากขึ้น ท้าให้มีทรรศนะและตีความที่แตกต่างหลากหลายตามค่านิยมของแต่ละคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคนชั้นกลาง ผ่านกระบวนการชวนเชื่อจากรัฐผ่านสื่อสารมวลชนสมัยใหม่ ในท้านองที่ว่าการปฏิบัติการนั้นเป็นการกระท้าที่ก้าวร้าว สร้างความเดือดร้อน ท้าลายสาธารณะสมบัติ ป่าเถื่อน เป็นความรุนแรง ไม่มีเหตุผลของกลุ่มคนที่ไม่เคารพกฎเกณฑ์และระเบียบของรัฐ เป็นต้น แต่ฝ่ายที่สนใจในเชิงทฤษฎีเสรีประชาธิปไตยที่เน้นพหุลักษณ์ทางสังคม สนใจการเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มองค์กรและขบวนการต่างๆ กลับมองว่ารูปแบบปฏิบัติการเหล่านั้นเป็นเครื่องมือตามสิทธิของพลเมือง และพยายามเสนอเชิงแนวคิด ทฤษฎีออกมาที่น่าสนใจตามล้าดับ ดังนั้น จึงเป็นสอง นัยยะในการอธิบายรูปแบบปฏิบัติการของประชาชนพลเมืองที่แย้งและขาดความรู้ความเข้าใจอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีบางทรรศนะที่มีความคับแคบทางสติปัญญาในการท้าความเข้าใจก็จะยิ่งตีความเฉไฉออกไปจนละเลยถึงสิทธิของประชาชนในการเลือกใช้วิธีการปฏิสัมพันธ์กับรัฐ บางทรรศนะก็นิยมชมชอบจนเกินเลยก็จะอธิบายเสียจนเกินความพอดี แต่หาใช้เป้าหมายหลักของงานชิ้นนี้ เพราะว่างานชิ้นนี้ต้องการน้าเสนอถึงแนวคิดเชิงทฤษฎีรูปแบบปฏิบัติการของประชาสังคม1 โดยเบื้องต้นนี้จะน้าไปวิเคราะห์กับกรณีศึกษาในพื้นที่ลุ่มน้้าปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในบทความนี้จึงน้าเสนอสองส่วน คือ ส่วนแรกจะน้าเสนอแนวคิดเชิงทฤษฎี และส่วนที่สองจะใช้แนวคิดทฤษฎีนี้อธิบายปรากฎการณ์ในพื้นที่ลุ่มน้้าปากพนัง ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจที่แจ่มชัดมากขึ้น

Article Details

How to Cite
bunsuaikhwan, narong . (2020). ปฏิบัติการของกลุ่ม องค์กร ขบวนการประชาสังคม ชนบทไทย กับนัยะของการเมืองภาคพลเมือง. King Prajadhipok’s Institute Journal, 5(2). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244682
Section
Original Articles

References

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. การศึกษาความมั่นคงของครอบครัว : พรหมแดนแห่งความรู้เพื่อความมั่นคงของมนุษย์. ในวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน). 2546.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. รัฐกับสังคม :ไตรลักษณรัฐไทยในพหุสังคมสยาม. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2533.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ ขบวนการเคลื่อนไหวประชาสังคมในต่างประเทศ : บทสำรวจพัฒนาการ สถานภาพและนัยยะเชิงความคิดทฤษฎีต่อการพัฒนาประชาธิปไตย. มหาวิทยาลัยเกริก. 2540.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่และนัยะเชิงทฤษฏีต่อการพัฒนาประชาธิปไตย. ใน อนุชาติ พวงสำลีและกฤตยา อาชวนิจกุล (บรรณาธิการ). ขบวนการประชาสังคมไทย :ความเคลื่อนไหวภาคพลเมือง. โครงการวิจัยและพัฒนาประชาคม มหาวิทยาลัยมหิดล. โดยการสนับสนุนของกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 2542.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. ท้าทายทางเลือก : ความรุนแรงและการไม่ใช้ความรุนแรง. สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง. 2533.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. แนวคิดหลักของสันติวิธี. ในวารสาร “ศานติสังคม” ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 (กรกฎาคม – กันยายน). 2530.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. อารยะขัดขืน. ในวารสาร “รัฐศาสตร์สาร” ปีที่ 24 ฉบับที่ 3. 2546.

เดือน ดวงดี. ปรัชญาตะวันตกจากโบราณถึงปัจจุบัน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2522.

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ.ประชาสังคม : พัฒนาการและนัยยะแห่งอนาคต. หนังสือชุดประชาสังคมลำดับที่ 3 สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. 2540.

ประภาส ปิ่นตบแต่ง. การเมืองบนท้องถนน :99 วันสมัชชาคนจนและประวัติศาสตร์การเดินขบวนชุมนุมประท้วงในสังคมไทย. มหาวิทยาลัยเกริก. 2541.

ไพศาล วิสาโล . พุทธศาสนากับประชาสังคม. ใน จรัญ โฆษณานันท์ (บรรณาธิการ). “วิถีสังคมไทย : สรรนิพนธ์ทางวิชาการเนื่องในวาระหนึ่งศตวรรษ ปรีดี พนมยงค์” สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก. 2543.

พอใจ ลี่ทองอินทร. การสถาปนาอานาจประชาชนในระดับรากหญ้า. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2545.

ยีน ชาร์ป. อำนาจและยุทธวิธีไร้ความรุนแรง. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ และคมสัน หุตะแพทย์ (แปล). สำนักพิมพ์โกมลคีมทอง. 2529.

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล . การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไทย. สำนักพิมพ์อมรินทร์. 2548.

สุขุม นวลสกุล และบรรพต วีระสัย. ทฤษฎีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลางและความคิดเชิงทฤษฎีการเมืองในพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2521.

สุลักษณ์ ศิวลักษณ์ (แปล/เรียบเรียง). โสกราตีส ไครโต (โสกราตีสในคุก). สำนักพิมพ์สยาม. 2543.

สมบัติ จันทรวงศ์. ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น :บทวิเคราะห์โสกราตีส. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2524.

Chantana Banpasirichote. Civil society discourse and the future of radical environment movements in Thailand . A paper presented in Workshop on Civil Society in Southeast Asia ,ISEAS , Singapore , 12-13 November 2001.

Cohen , Carl. Civil Disobedience: Conscience ,Tactics, and The Law . Columbia University Press. 1971.

Dillard , Courtney L. . Civil Disobedience : A Case Study in Factors of Effectiviness. Society & Animal. 2002 http:// www.ebsco

Eckstein , Susan (ed) . Power and Popular Protest : Latin America Social Movements. University of Callifornia Press. 2001.

Keane , John. Deapotism and Democracy. , In John Keane (edit). Civil Society and the State : New European Perspectives . Verso.1993.

Kimball , Roger . The politics of delegetimation ; The new criterion. V.16 (Mar.1998). 1998. ใน http://203.144.248.21/hwwmds/detail.ns

Kopecky , Petr , Mudde Cas. Rethinking Civil Society. Democratization , Vol. 10 Autumn 2003.

Tarrow , Sidney. Power in Movement : Social Movement , Collective and Politics. Cambridge Studies in Comparative Politics. Cambridge University Press. 1995.

Thoreau , Henry David. Civil Disobedience. 1995. ใน http://216.239.51.100/search? q=cache:z72qWI6UtIEC:w3.trib.com/FACT1st.)

Weiss , Linda , Hobson , John M. . States and Economic Development : A Comparative Historical Analysis . Polity Press. 1995.