ความเป็นมาและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

Main Article Content

Somkit Lertpaithoon

Abstract

     การรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ก่อให้เกิดผลทางกฎหมายหลายประการไม่ว่าจะเป็นการล้มล้างรัฐบาลที่มี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” ที่มีเนื้อหาดีที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย ฯลฯ แต่กระนั้นก็ตามการปกครองโดยระบบเผด็จการที่อานาจอธิปไตยยังคงรวมศูนย์อยู่ที่คณะรัฐประหารที่เดียว ซึ่งไม่ว่าจะเรียกตนเองว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปก.) หรือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ย่อมไม่สามารถเป็นไปได้ที่จะได้รับการยอมรับเชื่อถือจากนานาอารยะประเทศยิ่งในบรรยากาศของโลกเสรีประชาธิปไตยปัจจุบัน


     ประสบการณ์อันยาวนานในทางรัฐธรรมนูญและการเมืองการปกครองไทยสอนให้รู้ว่า ผู้เผด็จการไม่ว่าจะเป็น “เผด็จการที่ดี” หรือ “เผด็จการที่เลว” ย่อมใช้อานาจเผด็จการที่มีลักษณะรวมศูนย์ไปถึงขีดสุดของตนเองซึ่งแน่นอนย่อมกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน และนาพาประเทศไปสู่หายนะในที่สุด ประสบการณ์บอกเราเช่นกันว่า คณะรัฐประหารที่ฉลาดจะต้องจัดให้มีรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งเพื่อนาพาประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในสถานการณ์ปรกติโดยเร็วที่สุดแต่ก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญ (ฉบับถาวร) และจัดให้มีการเลือกตั้ง คณะรัฐประหารก็มีความจาเป็นที่จะต้องจัดระบบระเบียบของประเทศให้เข้าที่เข้าทางด้วยการเขียนรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ไว้ใช้พลางก่อน ซึ่งกระบวนการในการนาประเทศเข้าสู่ระบบปรกติในประวัติศาสตร์ของการเมืองไทยส่วนใหญ่จึงมีลักษณะดังนี้


 

Article Details

How to Cite
lertpaithoon, somkit . (2020). ความเป็นมาและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. King Prajadhipok’s Institute Journal, 5(3). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244689
Section
Original Articles