อานาจตุลาการ : องค์ประกอบใหม่เพื่อการดารงความยุติธรรมในสังคม

Main Article Content

Vicha Mahakun

Abstract

     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 197 บัญญัติว่า : การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอานาจของศาล ซึ่งต้องดาเนินการให้เป็นไป โดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย


     อันแสดงให้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นยามปกติ หรือยามวิกฤต ศาลก็ยังได้รับการยอมรับ และนับถือ ให้เป็นผู้ใช้อานาจตุลาการอย่างเป็นอิสระ ภายใต้พระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ให้เป็นไปโดยยุติธรรม ตามกฎหมาย และตามรัฐธรรมนูญ และนับว่าศาลได้รับความเชื่อถือ และไว้วางใจให้เป็นผู้ปกป้องคุ้มครองสาธารณชน และปัจเจกบุคคล ให้ได้รับความยุติธรรม ศาลในยุคปัจจุบัน จึงมิใช่เป็นเพียงองค์กรที่ยุติความขัดแย้งในสังคม แต่ต้องเป็นสถาบันที่ช่วยแก้ไขปัญหาสังคม ซึ่งสถาบันอื่นไม่สามารถแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสาคัญของอานาจตุลาการในทางสังคม และทางการเมืองได้กลายเป็นลักษณะอันเป็นสามัญ ในการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย ที่ได้รับการขนานนามว่า เป็น “ตุลาการภิวัตน์ในทางการเมือง” (the judicialization of politics) ซึ่งหมายถึง การขยายขอบเขตของศาล หรือ ตุลาการ ในทางการเมืองหรือในทางการบริหาร แต่อีกความหมายหนึ่ง คือ การขยายแนวทางพิจารณาพิพากษาคดีที่นอกขอบเขตที่เป็นปกติของอานาจตุลาการ ซึ่งนักวิชาการ บางท่าน เห็นว่าการขยายขอบเขตเช่นว่านั้นอาจจะมิใช่การขยายอานาจตุลาการ ในทางตรงกันข้าม ถือว่าเป็นการกระทาภายในขอบอานาจของตุลาการนั้นเอง ซึ่งในความหมายแรก นับได้ว่าเป็นความเจริญงอกงามของอานาจตุลาการ

Article Details

How to Cite
mahakun, vicha . (2020). อานาจตุลาการ : องค์ประกอบใหม่เพื่อการดารงความยุติธรรมในสังคม. King Prajadhipok’s Institute Journal, 5(3). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244690
Section
Original Articles