แนวคิดเรื่องความชอบธรรมกับการต่อสู้ทางการเมืองยุคทักษิณ

Main Article Content

Montri Chenvidyakarn

Abstract

     บทความนี้เป็นความพยายามที่จะสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในเรื่องแนวความคิดว่าด้วยความชอบธรรม (Legitimacy) ที่หลายฝ่ายได้นาไปอ้างและกล่าวหาซึ่งกันและกันในการต่อสู้ทางการเมืองยุคทักษิณในช่วงปลายปี 2548 และต้นปี 2549 ซึ่งนาไปสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 การขยายตัวของการเคลื่อนไหวประท้วงและสนับสนุน “ระบอบทักษิณ” ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปที่จัดให้มีขึ้น เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ผลของการเลือกตั้ง ปรากฎชัดเจนว่าได้นาไปสู่ปัญหาการถกเถียงที่รุนแรงยิ่งขึ้นถึงความชอบธรรมของทั้งการจัดการเลือกตั้ง คะแนนเสียงที่ออกมา และการดารงอยู่ของรัฐบาลที่รักษาการหรือที่จะจัดตั้งขึ้นหลังการเลือกตั้ง การเมืองไทยจะต้องเผชิญกับการขัดแย้งรุนแรงที่ยัง ไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดลง แม้ว่านายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร จะประกาศ “เว้นวรรค” ทางการเมืองแล้วก็ตามจนกว่าจะมีการ “ยอมรับ” ในหลักการและวิธีการแก้ไขจากทุกฝ่ายที่จะนาไปสู่การสร้างกฎหรือกติกาใหม่ทางการเมืองที่มีความชอบธรรมอันจะทาให้เกิดความสงบเรียบร้อย เสถียรภาพทางการเมือง และประสิทธิผลในการบริหารราชการในที่สุด


     แนวความคิดเรื่องความชอบธรรมที่ได้มีการอ้างขึ้นมาไม่ว่าจะเพื่อปกป้องการดาเนินการทางการเมืองของฝ่ายใดก็ตาม หรือที่จะใช้โจมตีฝ่ายตรงกันข้ามหรือฝ่ายต่อต้านก็ดี ยังมีความสับสนในแง่ความหมายพอสมควร และแม้ว่าจะมีนักวิชาการบางท่านได้เขียนบทความในหน้าหนังสือพิมพ์อธิบายถึงแนวความคิดเรื่องความชอบธรรมอยู่บ้าง แต่เนื้อหาก็ยังไม่ครอบคลุมเพียงพอที่จะแยกแยะประเด็นให้เด่นชัดโดยเฉพาะแนวความคิดใหม่เรื่องความชอบธรรมที่ใช้วิเคราะห์ความชอบธรรมในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งแตกต่างจากคาอธิบายของนักคิดในอดีตโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Max Weber ซึ่งเป็นนักคิดที่มีผู้อ้างถึงเสมอเมื่อมีการศึกษาถึงเรื่องความชอบธรรมทางการเมือง


     บทความนี้จะไม่ลงรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาของเหตุการณ์หรือคาพูดของบุคคลที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ซึ่งอ้างถึงแนวความคิดเรื่องความชอบธรรม แต่จะตั้งประเด็นการวิเคราะห์เพื่อการถกเถียงแนวความคิดว่าด้วยความชอบธรรม โดยตรงเพื่อที่จะสร้างความกระจ่างในเรื่องนี้มากกว่า เพื่อเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้การถกเถียงเป็นระบบยิ่งขึ้น โดยหวังว่าความเห็นของนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องความชอบธรรมนี้จะทาให้การวิเคราะห์การเมืองไทยในช่วงวิกฤตไม่เกิดความสับสนมากไปกว่าเดิม

Article Details

How to Cite
chenvidyakarn, montri . (2020). แนวคิดเรื่องความชอบธรรมกับการต่อสู้ทางการเมืองยุคทักษิณ. King Prajadhipok’s Institute Journal, 4(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244700
Section
Original Articles

References

William E. Connolly, Politics and Ambiguity. Wisconsin : The University of Wisconsin Press, 1987. Chapter 6.

“The Dilemma of Legitimacy,” pp 72 – 98.

Thomas Banchoff and Mitchell P. Smith, (eds.) Legitimacy and the European Union : The Contested Polity. London : Routledge, 1999. Chapter 1, pp. 1- 23.

David Beetham The Legitimation of Power. London : Macmillan, 1991.

Michael Saward. Co-optive Politics and State Legitimacy. Aldershot : Darthmouth, 1992.

John Kane. The Politics Of Moral Capital. Cambridge: Cambridge University Press, 2501.