พระมหากษัตริย์นักประชาธิปไตย
Main Article Content
Abstract
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร (ภปร.) พระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พ. ศ. 2467 โดยด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร
ต่อมาเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระองค์ได้เสด็จขึ้นสู่พระราชพิธีบรมราชา - ภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ในวันนั้นเอง ทรงเปล่ง พระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พระปฐมบรมราชโองการดังกล่าวถือเป็นประถมธรรมิกราชวาจา และเป็นพระราช -สัตยาธิษฐานจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองราชอาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรม
โดยที่พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ภายหลังการเปลี่ยนแปลง การเมืองการปกครอง พ.ศ. 2475 เพียง 14 ปี พระองค์จึงทรงครองราชย์ภายใต้การปกครองใน ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งพระราชอานาจของพระมหา - กษัตริย์ไทยได้เปลี่ยนแปลงไปภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง พ.ศ. 2475 พระองค์จึงมิได้ทรงมีพระบรมเดชานุภาพจากความกล้าหาญ ความสามารถในการรบ การทาสงคราม หรือการแผ่ขยายพระราชอาณาจักรอย่างกว้างใหญ่ แต่พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอันใกล้ชิดกับประชาชนทั้งประชาชนในกรุงเทพฯ ในเมือง ในชนบท และผู้อยู่ห่างไกล โดยที่รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้อานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล พระราชกรณียกิจและพระราชจริยาวัตรของพระองค์มีมากมายเป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรทั้งประเทศ เพราะพระองค์ทรงปฏิบัติทั้ง พระราช กรณียกิจตามรัฐธรรมนูญ และการบาบัดทุกข์บารุงสุข ทรงร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชนชาวไทยไม่เว้นแม้แต่ราษฎรในถิ่นทุรกันดาร พระองค์ทรงมีพระบรมเดชานุภาพแผ่ไพศาล ปกป้องคุ้มครองประเทศชาติและประชาชนให้ตั้งอยู่ในความมั่นคง ความเป็นปกติสุขและความจริญ ก้าวหน้าตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง พระองค์จึงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงความสาคัญต่อการให้ “ประชาชนพึ่งตนเอง” แต่พระองค์เองก็ “ทรงเป็นที่พึ่งของประชาชนทั่วประเทศ”
ตลอด 60 ปี แห่งการครองราชย์ พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการพัฒนา บ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้ประเทศไทย มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่พระองค์ก็ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจและพระราชจริยาวัตรตามกรอบแห่งกฎหมายโดยยึดหลักทศพิธราชธรรมได้อย่างมีศิลปะและมีความสง่างามเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงเป็นสัญลักษณ์ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมล้นไปด้วยพระเมตตา และพระปัญญาที่แหลมและสุขุมรอบคอบ พระองค์ทรงมีบทบาทสาคัญในการแก้ไขปัญหาวิกฤตของบ้านเมืองภายใต้ กรอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นจรรโลงการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้คงอยู่ต่อไป
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
ธโสธร ตู้ทองคา. “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจรรโลงระบอบประชาธิปไตย”. รัฐสภาสาร. 53, 12 (ธ.ค. 2548), 1 - 15.
ประหยัด หงษ์ทองคา. “พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชในทางรัฐศาสตร์”. รัฐสภาสาร. 47, 12 (ธ.ค. 2542), 1 - 8.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.