อารยะขัดขืน : การต่อต้านขัดขืนอารยะ

Main Article Content

Jak Punchoopet

Abstract

     แม้งานชิ้นนี้จะเกิดจากการมองเห็นและรับรู้ในปรากฏการณ์ทางสังคม-การเมืองของไทยในปัจจุบัน แต่งานชิ้นนี้จะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดของข้อเท็จจริง เพราะการกระทาเช่นนั้นถือเป็นการลดทอนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นให้เหลือเพียงเศษเสี้ยวบางส่วนแล้วแปลงเป็นตัวอักษร ซึ่งผลสุดท้ายย่อมก่อให้เกิดความเคลือบแคลงมากกว่าที่จะทาให้เกิดความชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อเป็นการตัดต่อ จัดเรียง และประกอบสร้างโดยบุคคลที่ไม่มีทางล่วงรู้ในทุกสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้บริบทของเหตุการณ์นั้นๆ และงานชิ้นนี้ก็มิได้มีความตั้งใจที่จะชี้ผิด-ถูก หรือพยายามสรรหาเหตุผลมาอธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะการชี้ผิด-ถูกหรือการสรรหาเหตุผลมารองรับปรากฏการณ์มิได้อยู่ในวิสัยที่จะกระทาได้ผ่านกรอบคิดที่พร่ามัวด้วยมายาคติและข้อจากัดทางการรับรู้อันเป็นเงื่อนไขสากลของความเป็นมนุษย์ทุกคน ประกอบกับผู้เขียนปฏิเสธการลดทอน/แยกส่วน หรือแม้แต่การเหมารวมในเหตุที่เกิดขึ้นและนามาวิเคราะห์ได้ และด้วยเหตุผลอื่นอีกหลายประการที่ถักทอร้อยเรียงจนเกิดบทสรุปว่า งานชิ้นนี้เป็นเพียงแง่มุมหนึ่งของผู้เขียนที่เลือกหยิบกรอบคิดเกี่ยวกับอานาจ วาทกรรม และปฏิบัติการแห่งอานาจในความหมายของมิเชล ฟูโก้มาเป็นแว่นมองเข้าไปในปรากฏการณ์ดังกล่าว


     แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่า ผู้เขียนได้เลือกหยิบแว่นที่ใช้มองได้อย่างถูกต้อง หรือมีความเข้าใจอย่างลุ่มลึกต่อกรอบมองที่เป็นเสมือนแว่นที่ใช้ตัดวางระหว่างการรับรู้กับสิ่งที่เกิดขึ้น ตรงข้ามผู้เขียนรู้สึกว่า ผู้เขียนมิได้มีความรู้หรือเข้าใจใดๆ ต่อกรอบคิดอันเป็นความคิดของบุคคลอื่นรวมไปถึงวิธีคิดของผู้เขียนเอง เพราะเมื่องานนี้จบลง ผู้เขียนก็จะไม่สามารถรับรู้ได้ว่าผู้เขียนได้รู้สึกอย่างไรต่อสิ่งที่วิเคราะห์ผ่านงานเขียนนี้


     เหตุใดผู้เขียนจึงคิดเช่นนั้น คงตอบได้เพียงว่า ผู้เขียนเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตที่มีหน้าที่ส่งผ่านสิ่งที่คิด ณ วันที่เขียนผ่านออกมาเป็นตัวหนังสือเท่านั้น หาได้เป็นเจ้าของความคิดหรือเจ้าของผลงานที่เขียนขึ้นแต่อย่างใดไม่

Article Details

How to Cite
punchoopet, jak. (2020). อารยะขัดขืน : การต่อต้านขัดขืนอารยะ. King Prajadhipok’s Institute Journal, 4(2). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244727
Section
Original Articles

References

ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2529). “มิเชล ฟูโกต์: ปัญญาชน ความจริงและอานาจ,” ใน วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 - 2 ตุลาคม 2528-มีนาคม 2529. หน้า 142 - 154.

Best, Steven and Kellner,Douglas. (1991). “Foucault and the Critique of Modernity,” in PostModern Theory : Critical Interrogations. New York: Guilford Press.

Foucault, Michel. (1980). Power/Knowledge: Selected Interviews and Other Writing 1972-1977. Gordon, Colin (ed.) New York: Pantheon.

Foucault, Michel. (1986). “The Subject and Power,” in Michel Foucualt: Beyond Structuralism and Hermeneutics. Dreyfus, Hubert L. and Rabinow, Paul (eds.) Great Britian: The Harvester Press.

Foucault, Michel. (1988). “Power and Sex,” in Michel Foucault: Politics Philosophy Culture. Kritzman, Lawrence D. (ed.) New York: Routledge.

Foucault, Michel. (1990). The History of Sexuality Volume I: An Introduction. Hurley, Robert (trans.) Harmondsworth: Penguin Books.

Foucault, Michel. (1991). Discipline and Punish: The Birth of Prison. Sheridan, Alan (trans.) New York: Penguin Books.

Hall, Stuart. (ed.). (1997). Representation : Cultural Representations and Signifying Practices. London: SAGE Publications.

Lukes, Steven. (1980). Power: A Redical View. London: The Macmillan Press.

Sheridan, Alan (ed.). (1980). Michel Foucault: The Will to Truth. London and New York: Tavistock Publications.

http://www.lcc.ac.th/forum/board_posts.asp?FID=465