อนาคตการเมืองไทยและระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
Main Article Content
Abstract
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2540 หรือรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จานวน 99 คน ถือได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดฉบับหนึ่ง โดยจุดประสงค์หลักก็คือการพยายามปฏิรูประบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน ประเด็นหลักของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็คือ การประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน การให้ประชาชนมีบทบาททางการเมืองอย่างเต็มที่ มีการเปลี่ยนแปลงการเข้าสู่ตาแหน่งอานาจ รวมตลอดทั้งการควบคุมการใช้อานาจ การผสมผสานระหว่างระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบอังกฤษและระบบประธานาธิบดี นอกเหนือจากการมีองค์กรตามรัฐธรรมนูญ 10 องค์กรด้วยกัน
การทดสอบการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาทั้งหมด 9 ปี แต่ในปีต้นๆ มีการคาบเกี่ยวระหว่างระบบเก่าและระบบใหม่ แต่การทดสอบที่สาคัญที่สุดก็คือระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี รวมสองสมัย (สมัยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544 ถึงวันที่ 11 มีนาคม 2548 และสมัยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2548 ถึงวันที่ 19 กันยายน 2549)1 การทดสอบในครั้งนี้นาไปสู่การเห็นจุดอ่อนของสังคมไทย ระบบราชการ ระบบการเมือง ประเด็นเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม ฯลฯ จนนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
จากสิ่งที่กล่าวมานั้น ถึงแม้รัฐบาลภายใต้พรรคไทยรักไทยและ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จะทาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองทั้งในทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการทาให้สภาอยู่ครบ 4 ปี และมีรัฐบาลพรรคเดียวนั้น ก็ถูกหักล้างโดยส่วนที่เป็นลบอย่างมาก ทาให้สังคมตกอยู่ในภาวะที่มีความขัดแย้งขนาดหนัก ประกอบกับมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ที่เรียกว่ากลุ่มพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วย กลุ่ม “ม๊อบสนธิ” กลุ่มนักวิชาการทั่วประเทศ กลุ่มเครือข่ายสมานฉันท์ปฏิรูปการเมือง กลุ่มสมาพันธ์ประชาธิปไตย สมัชชาคนจน สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ องค์กรครูกู้ชาติ พรรคฝ่ายค้าน สมาชิกวุฒิสภา ได้แก่กลุ่ม ส.ว. เอ็นจีโอ ฯลฯ เป้าหมายเพื่อต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกจากตาแหน่งนายกรัฐมนตรี ล้มล้าง “ระบอบทักษิณ” ปฏิรูปการเมือง แก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ และแก้ไขปัญหาของกลุ่มองค์กร2 โดยบางครั้งกลุ่มต่อต้านมีจานวนเป็นแสนๆ คน และยังขยายตัวไปต่างประเทศทั้งยุโรปและอเมริกา
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.