จากสมัชชาแห่งชาติ 2516 ถึงสมัชชาแห่งชาติ 2549
Main Article Content
Abstract
สืบเนื่องจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นพระประมุข (คปค.) ได้ทาการรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลโดยการนาของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จากนั้น ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ซึ่งบัญญัติให้มีการจัดทาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมาจากการเลือกกันเองของสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ซึ่งเป็นกลไกในการจัดทาร่างรัฐธรรมนูญโดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนซึ่งเป็น “คนกลาง” จากทุกภาคส่วนได้มีส่วนในการจัดทาร่างรัฐธรรมนูญ
สมัชชาแห่งชาติเป็นกลไกในการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการจัดทาร่างรัฐธรรมนูญในประเทศไทยแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2516 สมัชชาแห่งชาติตามแนวทางของ คมช. จะเป็นกลไกในการจัดทาร่าง รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 18 ได้ประสบผลสาเร็จเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 หรือไม่ นั้น ขณะนี้กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญโดย คมช. เป็นเจ้าภาพ กาลังถูกจับตามองจาก ประชาชนทั้งประเทศ และอาจจะเป็นชนวนนาการเปิดความขัดแย้งของคนในชาติอีกครั้งหนึ่ง
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 90 ตอนที่ 161 วันที่ 10 ธันวาคม 2516
ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 90 ตอนที่ 165 วันที่ 16 ธันวาคม 2516
รัฐสภาสาร ปีที่ 22 ฉบับธันวาคม 2516
รัฐสภาสาร ปีที่ 22 ฉบับมกราคม 2517