ฐานทางความคิดของ “ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ”

Main Article Content

Thanes Wongyannava

Abstract

     นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมการเมืองและเศรษฐกิจในทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ขบวนการทางสังคมและสานึกของปัจเจกชนที่ตอกย้าการกาหนดชีวิตของตนเอง (self-determination) ในระบอบเสรีประชาธิปไตยตะวันตกหรือ ‚ประชาธิปไตยแอตแลนติคเหนือ‛ (North Atlantic Democracy) ก็ได้ทาให้กระบวนการสร้างความเป็นประชาธิปไตยมีความเข้มข้นมากขึ้น ความล้มเหลวของเสรีประชาธิปไตยในโลกตะวันตกสามารถแก้ไขได้ด้วยการทาให้ประชาธิปไตยมีความเข้มข้นมากขึ้น การทาให้ประชาธิปไตยหนักแน่นมากขึ้นเป็นหนทางในการแก้ไขปัญหา ‚การเจ็บป่วยของประชาธิปไตย‛ หนทางของการแก้ไขปัญหาประชาธิปไตยจึงไม่ใช่หาทางออกด้วยการยกเลิกประชาธิปไตย เช่น การรัฐประหาร เป็นต้น แต่กลับจะต้องแก้ไขอาการป่วยไข้ของประชาธิปไตยด้วยการทาให้เป็นประชาธิปไตยดุดันมากขึ้น


     เส้นทางของเสรีประชาธิปไตย (liberal democracy) ในฐานะอุดมการณ์ทางการเมืองและระบอบการเมืองที่โดดเด่นที่สุดและรอดชีวิตมาได้อย่างยาวนานจึงเป็นเส้นทางที่ไม่มีจุดสิ้นสุดง่ายๆ สาหรับความหมายของคาว่า ‚จบ‛ นี้ไม่ได้หมายความว่าตายไม่ได้หรือดับสลายไม่ได้ แต่หมายความว่า จุดหมายที่ยังไปไม่ถึง เพราะฉะนั้นจาเป็นที่จะต้องทาให้ประชาธิปไตยมีความเข้มข้นอยู่ตลอดเวลา ประหนึ่งการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงในสภาวะสมัยใหม่ (modernity) จาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดาเนินไปตลอดเวลา การปฏิวัติจึงเป็นสิ่งถาวร สาหรับการปฏิวัติจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อต้องมีการเผชิญหน้ากับวิกฤต (crisis)1 โดยวิกฤตจะเป็นตัวผลักดันให้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกันเมื่อสภาวะสมัยใหม่จาเป็นต้องปฏิวัติเปลี่ยนแปลงให้ทุกอย่างทันสมัยอยู่ตลอดเวลาก็ทาให้วิกฤตกลายเป็นสิ่งที่ขาดไปไม่ได้ ดังนั้นวิกฤตจึงเป็น ‚สิ่งถาวร‛ ที่ขาดไปไม่ได้ วิกฤตเพิ่มความหนักแน่นเข้มข้นให้กับสภาวะสมัยใหม่และประชาธิปไตย

Article Details

How to Cite
wongyannava, thanes . (2020). ฐานทางความคิดของ “ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ”. King Prajadhipok’s Institute Journal, 4(3). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244739
Section
Original Articles