วรรณกรรมปริทัศน์เรื่อง “Governing by Network”

Main Article Content

Weerasak Krueathep

Abstract

     ปัญหาสังคมทุกวันนี้มีความซับซ้อนมากขึ้น การแก้ไขปัญหาผ่านกลไกระบบราชการ ที่มุ่งการทางานแบบควบคุมและสั่งการตามสายการบังคับบัญชา (Hierarchical control) อาจไม่สามารถดาเนินการให้ประสบผลสาเร็จได้อย่างทันท่วงที บ่อยครั้งที่การแก้ไขปัญหาเหล่านี้มีข้อจากัดหรืออาจเกินกว่าขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของส่วนราชการแต่เพียงลาพัง ทั้งนี้เนื่องจากหน่วยงานเหล่านี้อาจมีข้อมูลที่จากัด ขาดความชานาญหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม ในบางครั้ง การใช้ทรัพยากรของรัฐและการจัดการกับสาเหตุต้นตอของปัญหามิอาจกระทาได้อย่างคล่องตัวเนื่องด้วยข้อจากัดด้านกฎหมายหรือระเบียบทางราชการ เมื่อเป็นเช่นนี้ จะมีมาตรการใดที่ช่วยให้รัฐบาลและองค์กรของรัฐมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นในการจัดการกับปัญหาต่างๆ ได้ตามที่สังคมคาดหวัง?
การทางานในลักษณะ “เครือข่าย (Network)” ในการแก้ไขปัญหาสาธารณะเป็นทางเลือกประการหนึ่งที่มีความสาคัญมากขึ้นในปัจจุบัน ผลการดาเนินงานขององค์กรที่มิใช่ภาครัฐจานวนมากต่างแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถในการ “เข้าถึง” ปัญหาและบ่งชี้ถึงทักษะในการดาเนินงานเป็นอย่างดี ศักยภาพขององค์กรเหล่านี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสที่หน่วยงานของรัฐสามารถแสวงหาความร่วมมือและสร้างเป็นภาคีในการแก้ไขปัญหาสาธารณะโดยอาศัยจุดแข็งขององค์กรต่างๆ ที่มีอยู่เพื่อนาไปสู่เป้าหมายในการสร้างสรรค์สังคมร่วมกัน คาถามสาคัญในประเด็นนี้ก็คือหน่วยราชการต่างๆ จะเริ่มต้นการสร้างเครือข่ายในการดาเนินงานได้อย่างไร? การกาหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กรต่างๆ ในเครือข่าย ควรเป็นเช่นใด? รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและลักษณะการติดต่อสื่อสารระหว่างกันควรเป็นอย่างไร? การแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร ทรัพยากร และความรับผิดชอบต่อสาธารณะ (Public accountability) ของหน่วยงานต่างๆ จะมีลักษณะเช่นใด? แน่นอนว่าคาถามต่างๆ เหล่านี้คงมิใช่สิ่งที่ตอบได้ง่ายเท่าใดนัก หนังสือเรื่อง Governing by Network: The New Shape of the Public Sector เขียนขึ้นโดย Stephen Goldsmith and William D. Eggers เป็นหนังสือเล่มหนึ่งในชุด Innovations in American Government ของ John F. Kennedy School of Government, Harvard University ซึ่งได้นาเสนอคาตอบต่อคาถามต่างๆ ข้างต้นไว้อย่างเป็นรูปธรรม บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะทบทวนหนังสือเล่มดังกล่าวโดยการนาเสนอถึงสาระสาคัญของหนังสือโดยย่อ พร้อมด้วยบทวิเคราะห์จุดเด่นและข้อจากัดของหนังสือตามลาดับต่อไป

Article Details

How to Cite
krueathep, weerasak . (2020). วรรณกรรมปริทัศน์เรื่อง “Governing by Network”. King Prajadhipok’s Institute Journal, 4(3). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244740
Section
Original Articles

References

Goldsmith, Stephen and William D. Eggers. 2004. Governing by Network: The New Shape of the Public Sector. Washington, D.C.: Brookings Institution Press.