การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 ความชอบธรรมทางการเมือง เงิน และประชาธิปไตย
Main Article Content
Abstract
การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2548 นอกจากจะกลายเป็นประวัติศาสตร์ทางการเมืองของไทยที่ผู้คนจานวนมากจะกล่าวถึงอีกยาวนานแล้ว ยังเป็น ‚เหตุการณ์สาคัญ‛ ที่บ่งบอกได้ถึงทิศทางของการเมืองไทยในอนาคต อย่างน้อย ๆ ก็คือการเลือกตั้งทั่วไปในครั้งหน้า หรือห้วงเวลาในหนึ่งถึงสองทศวรรษต่อไป คือ ราว พ.ศ.2552 พ.ศ.2558 และ พ.ศ.2568
ประเด็นสาคัญ หรืออุปสรรคใหญ่ที่เป็น ‚หัวใจ‛ ของการก่อตัวและพัฒนา “ประชาธิปไตย” ของไทยนับตั้งแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองมาสู่แนวทางประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ.2475 ก็คือ “ความชอบธรรมทางการเมือง” (political legitimacy) ที่เกี่ยวพันกับ 3 ส่วนที่เชื่อโยงต่อกัน คือ ระบบ การเมือง รัฐบาล และผู้นาทางการเมือง กล่าวคือ การเข้าสู่อานาจ การใช้อานาจและการรักษาอานาจของชนชั้นนา (elites) ล้วนก่อให้เกิดความขัดแย้ง (conflict) ความไม่ไว้วางใจ (distrust) การต่อต้าน หรือการไม่ร่วมมือ (opposed or non-participate) และการแสวงหาวิธีการ ‚ล้มล้าง‛ (resolve) เพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านั้น
จากผู้นาทหารล้มล้างผู้นาคณะราษฎรแล้ว ผู้นาในกองทัพก็ล้มล้างกันเอง จนฝ่ายวิชาการและ คนมีความรู้ในกรุงเทพมหานครก่อตัวกันจนปลุกกระแสความคิดล้มล้างผู้นาทหารในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ผู้นาทหารบางส่วนผนึกกาลังกันได้และเข้ามาโค่นล้มรัฐบาลหลายชุดในช่วง พ.ศ.2519 พ.ศ.2520 และ พ.ศ.2534 ภาคสังคมหลายฝ่ายในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ปลุกกระแสเข้ามาโค่นล้มผู้นาทหารและรัฐบาลผสมหลายพรรค เมื่อ พ.ศ.2535 แล้วผลักดันจนเกิดสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ก่อนจะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
เสนีย์ คาสุข. มิติประชาธิปไตย จากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง (สยาม) 24 มิถุนายน 2475. ใน วารสารสถาบันพระปกเกล้า ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2547.
มติชน 16 มกราคม 2548.
มติชน 21 มกราคม 2548.
Shchrems, J. John. Principles of Politics : An Introduction New Jersey : Prentice – Hall, Inc.
Englewood Cliffs, 1986.