บทวิจารณ์หนังสือ เรื่อง “การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไทย” เขียนโดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
Main Article Content
Abstract
ความวิตกกังวลต่อ 377 เสียงที่พรรคไทยรักไทยได้รับจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ทาให้เสียงเรียกหา “การเมืองภาคประชาชน” จากบรรดานักวิชาการ ตลอดจนนักวิเคราะห์วิจารณ์การเมืองกลับก้องกังวานขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
ไม่ว่าจะด้วยเสียงในท่วงทานอง “ปลุกเร้า” ให้ภาคประชาชนตื่นขึ้นมาเป็นพลังการตรวจสอบจากภายนอกที่แข็งขันทดแทนกลไกถ่วงดุลภายในจากฝ่ายค้าน ดังที่ ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ราษฎรอาวุโสออกมาวิพากษ์1 หรือจะเป็นเสียงที่แฝงไว้ด้วยท่าทียอมรับการเข้าสู่อานาจบนความชอบธรรมที่พรรคไทยรักไทยได้รับจาก “เสียงสวรรค์” และเชื่อว่าประตูสาหรับการตรวจสอบจากภาคประชาชนยังเปิดกว้าง โดยการทางานร่วมกับองค์กรอิสระ ฝ่ายค้าน และสื่อมวลชนดังที่สุขุม เฉลยทรัพย์นาเสนอในบทความขนาดสั้นตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับเดียวกัน
การเลือกตั้งครั้งนี้ (โดยตั้งใจ) จึงอาจเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ประชาชนไม่ได้เลือกพรรคประชาธิปัตย์มาเป็นพรรคฝ่ายค้าน เพื่อคานอานาจ และตรวจสอบอานาจ หากแต่ประชาชนเลือกพรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล และก็เลือกตัวเอง (ประชาชน) เป็นฝ่ายค้าน ในความหมายที่ว่า ประชาชนเลือกที่จะใช้ 'การเมืองบนท้องถนน' ในการต่อรองกับรัฐบาลที่มีเสียงข้างมาก3 หรือ (โดยไม่ตั้งใจ) อาจเป็นการเลือกตั้งที่ประชาชนต้องเตรียมรับมือกับผลแห่ง “ความไว้วางใจ” ที่สูงเกินขนาดก็เป็นได้
ท่ามกลางกระแสเช่นนี้ หนังสือเรื่อง “การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไทย” ของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล น่าจะเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์ออกมาได้ถูกกาละที่สุดเล่มหนึ่ง สาหรับเป็น “แง่คิดเกี่ยวกับเรื่องที่ควรผลักดัน ซึ่งทั้งภาครัฐและภาคประชาชนสามารถนาไปใช้ประกอบการพิจารณาสถานการณ์ของตนได้ บนพื้นฐานของการหาทางสร้างสันติสุขให้บังเกิดขึ้นในบ้านเมือง” (หน้า 222) อันเป็นสิ่ง “เฉพาะหน้า” ที่ผู้แต่งในฐานะผู้วิจัยเชื่อว่าหนังสือเล่มนี้พอจะทาได้มากที่สุด
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.