สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ : ความหวังที่ยังเลือนลาง
Main Article Content
Abstract
การเรียกร้องจากนักวิชาการ กลุ่มองค์กรประชาธิปไตย และภาคพลเมืองให้มีการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 ซึ่งกาลังได้รับการขานรับจากทุกวงการอย่างรวดเร็ว ก็เพื่อต้องการทาให้องค์กรอิสระไม่ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ซึ่งถูกแทรกแซงและครอบงาจนไม่สามารถทาหน้าที่โดยอิสระตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งสอดรับกับนักวิชาการกฎหมายมหาชน ศาสตราจารย์ ดร. อมร จันทรสมบูรณ์ ที่เสนอให้ปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 เพราะได้พบสัญญาณการเมืองจะมีวิกฤตสืบเนื่องจากการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในเดือนเมษายน 2549 และจะหมดบทบาทไปเพราะการผูกขาดอานาจรัฐ
เช่นเดียวกับ นายโคทม อารียา ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อดีตกรรมการองค์กรกลาง กล่าวในการสัมมนาเรื่องบทบาทภาคประชาชนกับอนาคตการเมืองไทย ในโอกาสครบรอบ 12 ปี องค์กรกลาง แสดงความเป็นห่วงการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในต้นปีหน้า (เมษายน 2549) ว่ารัฐธรรมนูญได้กาหนดอย่างชัดเจนว่า ส.ว.จะต้องไม่สังกัดและไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง แต่สิ่งที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้คือ ระบบการเลือกตั้ง ส.ว. มีการนาวิธีการฮั้วเข้ามาใช้กับการเลือกตั้ง โดยทราบมาว่าใช้ ส.ส. 2 คน ช่วยหาเสียงให้ ส.ว. 1 คนในพื้นที่ ซึ่งการกระทานี้ถือว่าผิดกฏหมายและผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้ ส.ว. ปราศจากการครอบงาของพรรคการเมืองอย่างแท้จริง
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2544.
คณิน บุญสุวรรณ. วุฒิสภา เสาหลักหรือเสาหลอก. กรุงเทพฯ : บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จากัด, 2548.
แถมสุข นุ่มนนท์. สภาร่างรัฐธรรมนูญ : เส้นทางการปฏิรูปการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2545.
นคร พจนวรพงษ์ และ อุกฤษ พจนวรพงษ์. ข้อมูลประวัติศาสตร์การเมืองไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2542.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. ภาพรวมของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้าและองค์กรอิสระ.
มานิตย์ จุมปา. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ :สานักพิมพ์นิติธรรม, 2541.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.
ลิขิต ธีรเวคิน. วิวัฒนาการการเมือง การปกครองไทย. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540.
วิษณุ เครืองาม. กฎหมายรัฐธรรมนูญ กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แสวงสุทธิการพิมพ์, 2530.
สภาร่างรัฐธรรมนูญ. เอกสารประกอบการประชาพิจารณ์ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ. พฤษภาคม 2540.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. วุฒิสภา : จุดหักเหทางการเมือง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ประสิทธิภัณฑ์แอนด์ พริ้นติ้ง, 2548.
คมชัดลึก, หนังสือพิมพ์, ประจาวันที่ 24 เมษายน 2546.
ไทยโพสต์, หนังสือพิมพ์, ประจาวันที่ 28 เมษายน 2546.
มติชน, หนังสือพิมพ์, ประจาวันที่ 17 พฤษภาคม 2546.
มติชน, หนังสือพิมพ์, ประจาวันที่ 2 มิถุนายน 2546.
โลกวันนี้, หนังสือพิมพ์, ประจาวันที่ 31 พฤษภาคม 2547.
มติชน, หนังสือพิมพ์, ประจาวันที่ 1 มิถุนายน 2548.
โพสต์ทูเดย์ ประจาวันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2548.
ผู้จัดการรายงาน ประจาวันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2548