ท้องถิ่นกับความคาดหวังของประชาชน

Main Article Content

Sumet Saengnimnuan

Abstract

     ผมได้มีโอกาสออกไปทางานต่างจังหวัด ในตาแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และ หนองบัวลาภู สัมผัสพี่น้องประชาชน สอบถามความคิดความเห็น ว่ารู้จัก “ท้องถิ่น” หรือไม่ ถ้ารู้จัก มี “ความคาดหวังอะไรกับท้องถิ่น” บ้าง


     ผลการสารวจอย่างไม่เป็นทางการพบว่า ส่วนใหญ่รู้จัก “ท้องถิ่น” ดี โดยเฉพาะท้องถิ่นของตน เช่น อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตาบล (อบต.) จะรู้จัก อบต. อยู่ในเขตเทศบาล จะรู้จักเทศบาล แต่ถ้าถามว่า ท้องถิ่นไทย มีกี่รูปแบบ รู้จักองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือไม่ พอรู้จักบ้าง ส่วนกรุงเทพมหานคร (กทม.) กับ เมืองพัทยา ได้ยินแต่ชื่อ ไม่รู้ว่ารูปแบบเป็นประการใด ที่สาคัญ ยังงงสงสัย ไม่รู้ว่าแต่ละแบบ แตกต่างกันอย่างไร


     ซึ่งเรื่องนี้ ช่วงที่ผมไปเข้ารับการศึกษาอบรมหลักสูตร “การป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๔๗” ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กลุ่มถกแถลงของผม คือ “กลุ่มการเมืองภายในประเทศ” เรามีความเห็นว่า


     เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในเรื่องรูปแบบ ควรปรับปรุงท้องถิ่นไทย ให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งประเทศ โดยยกฐานะองค์การบริหารส่วนตาบล เป็นเทศบาลตาบล เทศบาลตาบล เป็นเทศบาลเมือง เทศบาลเมือง เป็นเทศบาลนคร เทศบาลนคร เป็นเทศบาลมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นเทศบาลนคร...(ชื่อจังหวัด) และ กรุงเทพมหานคร เป็นเทศบาลนครหลวงแห่งประเทศไทย


     โดยการดาเนินการเช่นนี้ นอกจากจะทาให้ประชาชนไม่สับสนแล้ว ยังทาให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เพราะ จากผลการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับกันมายาวนาน ว่า “เทศบาล” คือ รูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่ดีที่สุด

Article Details

How to Cite
saengnimnuan, sumet . (2020). ท้องถิ่นกับความคาดหวังของประชาชน. King Prajadhipok’s Institute Journal, 3(3). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244790
Section
Original Articles