อาริสโตเติล: การเลือกตั้งกับความเป็นประชาธิปไตย (ตอนที่สอง)
Main Article Content
Abstract
เมื่อนักรัฐศาสตร์กระแสหลักชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งแห่งศตวรรษที่ยี่สิบอย่างศาสตราจารย์โรเบิร์ต เอ. ดาฮ์ล (Robert A. Dahl) หันไปมองการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองในช่วงศตวรรษที่สิบแปดในยุโรป ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงจากระบอบโบราณ (ancient regime) มาสู่ระบอบการปกครองสมัยใหม่ เขาได้กล่าวยกย่องนักคิดชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งที่ชื่อว่า เดสตู เทรซี (Desttut de Tracy) ในฐานะที่เป็นผู้ทาให้ประชาธิปไตยเปลี่ยนโฉมหน้าจากรูปแบบการปกครองโบราณที่ใช้ได้เฉพาะกับนครรัฐหรือชุมชนเล็กๆ ไปสู่ประชาธิปไตยสาหรับรัฐชาติ 1 โฉมหน้าใหม่ของประชาธิปไตยที่ว่านี้คือ “การปกครองแบบตัวแทน (representative government)” ซึ่งถือเป็น “สิ่งประดิษฐ์ใหม่ซึ่งยังไม่มีใครรู้จัก” ในสมัยนั้น 2 แต่เป็นที่รู้จักคุ้นเคยกันดีในนามของ “ประชาธิปไตยแบบตัวแทน” (representative democracy) ในปัจจุบัน
ในวงการรัฐศาสตร์ไทย กล่าวได้ว่า เดสตู เทรซี ในฐานะนักคิดทฤษฎี “การปกครองแบบตัวแทน” ไม่เป็นที่รู้จักเท่าไรนัก เมื่อเทียบกับเดสตู เทรซีในฐานะผู้ให้กาเนิดคาว่า “อุดมการณ์” (ideology) เราจะพบการอ้างอิงถึงเทรซีของนักวิชาการทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ทั้งไทยและเทศที่ศึกษาและเขียนตาราเกี่ยวกับอุดมการณ์ความคิดทางการเมือง 3 แต่ยังไม่มีนักวิชาการไทยกล่าวถึงเขาในสถานะที่เกี่ยวข้องกับการปกครองแบบตัวแทนหรือรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยแบบตัวแทน ขณะเดียวกัน เรื่องราวหรือประวัติของเขาก็ยังไม่เป็นที่รู้จักเท่าไรนัก ดังนั้น ก่อนที่จะไปสู่ความคิดทางการเมืองของเขา จะขอแนะนาประวัติของเขาพอสังเขป
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.