รัฐไทย: รัฐที่การกระจายอานาจล่าช้า

Main Article Content

Tanet Charoenmuang

Abstract

     มีนิทานเรื่องหนึ่งชื่อว่า “คนตาบอดคลาช้าง” คนหนึ่งยืนข้างหน้าจับงวงช้างที่ม้วนไปมาไม่ยอมหยุด อีกคนหนึ่งยืนข้างๆ ลูบคลาใบหูอันเฉียบบางและกวัดแกว่งไปมา อีกคนหนึ่งยืนด้านข้างลูบคลาขาช้าง และคนสุดท้ายยืนด้านหลังจับหางช้าง เมื่อคนจับยืนเฉพาะจุดและไม่เคลื่อนมือต่อไปเรื่อยๆ ข้อสรุปของแต่ละคนต่อรูปร่างลักษณะของช้างจึงต่างกันอย่างสิ้นเชิง


     นิทานเรื่องนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปเพื่อเปรียบเทียบว่าเมื่อมองคนละจุด แต่ละคนจึงมีมุมมองที่แตกต่างกัน ข้อสรุปจึงไม่เหมือนกัน


     แต่นั่นเป็นการเปรียบเทียบสาหรับคนทั่วๆไปเท่านั้น ในทางวิชาการ วิธีคิดวิธีมองปัญหาต่างๆนั้นมีความสลับซับซ้อนกว่าที่กล่าวมามากนัก


     ที่ผ่านมา นักวิชาการสานักหนึ่งพยายามเสนอมุมมองแบบองค์รวม (Holistic Approach) โดยเสนอว่าการมองสิ่งต่างๆนั้นจะมองจุดใดจุดหนึ่งไม่ได้ แต่จะมองให้เห็นภาพทั้งหมดของสิ่งนั้น มองให้เห็นปฏิสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆที่เกาะเกี่ยวกันอยู่จนก่อให้เกิดภาพใหญ่ การมองเช่นนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการมองแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary Approach) คือมองให้เห็นทั่วด้าน เช่น โรงเรียนแห่งหนึ่งย่อมประกอบด้วยอาคารหลายหลัง สนามหญ้า เสาธง ครู นักเรียน ครอบครัว เพื่อน ห้องเรียน ภารโรง สมุด ดินสอ หนังสือ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้สัมพันธ์กันอย่างไร ตัวอย่างเช่น นักเรียนไม่มีความสุขในการเรียนอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เรียนหนัก การบ้านมาก ครูทมิฬ ถูกเพื่อนกลั่นแกล้ง เรียนไม่ทันเพื่อน ห้องเรียนมืด แต่ละห้องมีนักเรียนมากเกินไป เกิดความอึดอัด สถานที่ก็คับแคบ ไม่มีสนามกีฬา หรือแม้แต่ที่ให้วิ่งเล่น หรือครอบครัวมีปัญหา ฯลฯ วิธีการมองหลายๆด้านจะช่วยให้เราค้นพบว่าแต่ละปัญหาเกิดจากอะไร มิใช่มองแต่เพียงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น แล้วรีบสรุปออกมา


     นอกจากการสรุปสาเหตุของปัญหาหนึ่งๆ โดยใช้วิธีการแบบสหวิทยาการแล้ว ก็ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ถกเถียงกันบ่อยๆ นั่นคือ การสรุปลักษณะสาคัญของสิ่งๆหนึ่ง ดังนิทานที่ยกมากล่าวใน
ตอนต้น เช่น เราควรจะสรุปว่าช้างเหมือนอะไร หรือคนๆหนึ่งมีลักษณะอย่างไร เมืองๆหนึ่งมีลักษณะสาคัญอย่างไร และรัฐๆหนึ่งมีลักษณะสาคัญอย่างไร


     อะไรคือลักษณะสาคัญของสิ่งๆหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับว่าสิ่งๆนั้นมีลักษณะภาพรวมอย่างไร มีองค์ประกอบสาคัญอะไรบ้าง และอะไรเล่าที่ควรจะเป็นลักษณะสาคัญของสิ่งนั้น


     คำถามต่อไปมีว่าจะกาหนดลักษณะสาคัญเพื่ออะไร มุ่งสู่จุดหมายใด นี่ต่างหากที่เป็นประเด็นสาคัญเพราะถ้าหากจุดมุ่งหมายต่างกัน การกาหนดลักษณะสาคัญก็ย่อมต่างกันได้ เช่น หากเราจะเดินทางไปพบชายคนหนึ่ง เราอยากรู้ลักษณะสาคัญของเขาเพื่อจะได้เข้าไปพบเขา เราก็จะค้นหาลักษณะสาคัญ เพื่อการระบุตัว เช่น หูกาง ทรงผมพั้งค์ ไว้หนวดเครายาว เป็นต้น แต่ถ้าเป็นนักมวยจะศึกษาคู่ต่อสู้ว่ามีอาวุธสาคัญอะไร และมีจุดอ่อนตรงไหน เป้าหมายก็เป็นคนละอย่าง เรารู้จักอาวุธสาคัญของเขาเพื่อหลบหลีกและป้องกัน และเรารู้จุดอ่อนเพื่อโจมตี


 

Article Details

How to Cite
charoenmuang, tanet . (2020). รัฐไทย: รัฐที่การกระจายอานาจล่าช้า. King Prajadhipok’s Institute Journal, 2(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244798
Section
Original Articles

References

“2546 จุดเปลี่ยนท้องถิ่นไทย” ประชาคม ปีที่ 2 ฉบับที่ 23 มกราคม 2546.

คณะนักวิจัยไทย. 2529. เส้นทางสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประชาธรรม.

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2525. เอกสารประกอบการเสวนาเรื่อง เมืองไทยไม่ใช่กรุงเทพฯ. วันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2525.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. 2533. รัฐกับสังคม: ไตรลักษณรัฐไทยในพหุสังคมสยาม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ฯ.

ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์. 2539. เชียงใหม่: เอกนครระดับภาค. ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 2 โครงการศึกษาการปกครองท้องถิ่น คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สายนันท์ จันทรศัพท์.2535. รายงานการศึกษาภายใต้หัวข้อการเมืองและการบริหารภาคเหนือ“การขยายจานวนหน่วยงานราชการในจังหวัดเชียงใหม่” . วิชาการเมือง เศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อมร รักษาสัตย์. 2532. ประชาธิปไตยหลายรส. กรุงเทพฯ.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. 2539. มองเศรษฐกิจการเมืองไทยผ่านการเคลื่อนไหวของสมาคมธุรกิจ. แปลโดยสายทิพย์ สุคติพันธ์, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คบไฟ.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. 2543. เหตุอยู่ที่ท้องถิ่น ปัญหาการเมืองการปกครองที่ระดับชาติอันสืบเนื่องจากการปกครองท้องถิ่นที่ไม่เพียงพอ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

David A. Wilson. 1962. Politics in Thailand. Ithaca: Cornell University Press.

Fred W. Riggs. 1966. Thailand: The Modernization of a Bureaucratic Polity. Honolulu: East-West Center Press.

J.F. Embree. 1950. “Thailand: a loosely structured social system”, American Anthropologist.

James A. Ramsay. 1971. The Development of A Bureaucratic Polity: The Case of Northern Siam. Ph.D. Thesis, Cornell University.

Pisan Suriyamongkol and James Guyot. 1984. Bangkok: Graduate School of Public Administration. The National Institute of Development Administration.

Tej Bunnag. 1968. The Provincial Administration of Siam from 1892 to 1915: A Study of the Creation, the Growth, the Achievements, and the Implications for Modern Siam, of the Ministry of the Interior under Prince Damrong Rachanuphap. Ph.D. Thesis, Oxford University.

William J. Siffin. 1966. The Thai Bureaucracy: Institutional Change and Development. Westport, CT: Greenwood Press, Publishers.