ความร่วมมือระหว่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ส่วนหนึ่งในการจัดทาบริการสาธารณะภายในเขตของท้องถิ่นเพื่อสนองตอบต่อการแก้ไขปัญหาหรือความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งในการจัดทาบริการสาธารณะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจมอบหมายให้องค์กรอื่นจัดทาบริการสาธารณะแทนตนก็ได้ ในขณะเดียวกันอาจจะเป็นการรวมกลุ่มขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อจัดทาบริการสาธารณะร่วมกัน ซึ่งถือเป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดตั้งองค์กรโดยการรวมกลุ่มขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ นี้เป็นการแบ่งเบาภาระให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งของตนเองโดยตรง
รูปแบบความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนี้ มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป และในแต่ละประเทศจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน และในบางประเทศความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีลักษณะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ตัวอย่างที่พอจะยกมากล่าวเป็นตัวอย่างพอสังเขปของความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศ
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
โกวิทย์ พวงงาม. 2546. อบต. ในกระบวนทัศน์ใหม่ : พัฒนา สร้างเครือข่าย และเสริมความเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
คมกฤช อาภารัตน์วิไล. 2540. “แนวทางการจัดตั้งสหการในประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. 2544. การปกครองท้องถิ่นฝรั่งเศส .กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. 2539. “การรวมกลุ่มขององค์การปกครองท้องถิ่นเพื่อจัดทาบริการสาธารณะ.” รวมบทความกฎหมายการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์นิติธรรม.
สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย. 2510. ประวัติสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง.