ผลประโยชน์ทับซ้อนในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

Orathai Kokpol

Abstract

     ผลประโยชน์ทับซ้อน หรือ ความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวม (Conflict of Interest) เป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในแวดวงการเมืองการปกครองระดับชาติ โดยมองว่าอาจเป็นรูปแบบการคอรัปชั่นแนวใหม่ที่แนบเนียนมากขึ้น หรือเรียกกันว่า “คอรัปชั่นเชิงนโยบาย” อันที่จริงผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นปัญหาเช่นกันในระดับท้องถิ่น แต่ยังไม่มีการสนใจศึกษากันอย่างจริงจัง ในอดีตที่ผ่านมาความสนใจเรื่องกระจายอานาจและการปกครองท้องถิ่นยังมีอยู่จากัด สืบเนื่องจากการเมืองการบริหารบ้านเมืองมีลักษณะรวมศูนย์ องค์การปกครองท้องถิ่นมีบทบาทน้อย ประกอบกับขาดความเป็นอิสระ งบประมาณมีอยู่อย่างจากัด รายได้ขององค์การปกครองท้องถิ่นรวมกันทั้งประเทศรวมกันยังไม่ถึง 10 %ของรายได้ทั้งประเทศ ดังนั้นประเด็นความสุจริตหรือจริยธรรมของผู้บริหารองค์การปกครองท้องถิ่นจึงไม่ใช่ปัญหาที่ได้รับความสนใจจากทั้งแวดวงนักวิชาการ สื่อมวลชนและสาธารณะมากนัก


     หากแต่สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนแปลงไป ในช่วงระยะเวลาหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมาการกระจายอานาจกลายเป็นประเด็นทางการเมือง องค์กรปกครองท้องถิ่นมีบทบาทและความสาคัญมากขึ้น โดยเฉพาะหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 ที่มีเจตนารมณ์ในการปฏิรูประบบการเมืองการบริหารของไทย ได้ก่อให้เกิดการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นอย่างขนานใหญ่ ทาให้องค์กรปกครองปกครองท้องถิ่นมีบทบาทมากขึ้นและขณะเดียวกันก็สะท้อนความจาเป็นที่ต้องให้ความสนใจในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนในระดับท้องถิ่นประกอบด้วย ประการแรก จานวนหน่วยการปกครองท้องถิ่น เดิมประเทศมีหน่วยการปกครองท้องถิ่นจานวนน้อยประมาณ 1000 แห่ง หากแต่ในระยะเวลาอันสั้น ตั้งแต่พ.ศ. 2537 ที่มีพ.ร.บ.สภาตาบลและองค์การบริหารส่วนตาบล จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีหน่วยการปกครองท้องถิ่นรวมกันทุกประเภทมีจานวนถึง 7950 แห่ง1 ทุกพื้นที่อยู่ในเขตรับผิดชอบขององค์กรปกครองท้องถิ่น การเกิดขึ้นขององค์กรปกครองท้องถิ่นที่ต้องมีทั้งสภาท้องถิ่นและฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้ง ส่งผลให้เกิดนักการเมืองท้องถิ่นจานวนมาก ซึ่งในชุมชนขนาดเล็ก ประกอบกับค่าตอบแทนที่ไม่มากมายนัก นักการเมืองซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นมักประกอบอาชีพอย่างอื่นอยู่แล้ว หรือต้องประกอบอาชีพอื่นๆ ควบคู่ไปกับการบริหารท้องถิ่น ทาให้โอกาสของการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นไปได้สูง

Article Details

How to Cite
kokpol, orathai . (2020). ผลประโยชน์ทับซ้อนในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. King Prajadhipok’s Institute Journal, 2(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244804
Section
Original Articles

References

วิลาส จันทรพิทักษ์. 2542. งบประมาณของกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษางบประมาณของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร, เอกสารส่วนบุคคล ตามหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สาหรับนักบริหารระดับสูง. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักงานคณะกรรมการกระจายอานาจฯ สานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรี. 2545. คู่มือประชาชน/องค์กรปกครองท้องถิ่นเกี่ยวกับการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่อง การกระจายอานาจสู่ท้องถิ่น: ประชาชนได้อะไร.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. บันทึกเรื่องการมีส่วนได้ส่วนเสียของสมาชิกสภาเทศบาลที่เทศบาลเป็นคู่สัญญา หรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาลหรือที่เทศบาลจะกระทา เรื่องเสร็จที่ 526/2545.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. บันทึกเรื่องการมีส่วนได้ส่วนเสียของสมาชิกสภาเทศบาลที่เทศบาลเป็นคู่สัญญา หรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาลหรือที่เทศบาลจะกระทา เรื่องเสร็จที่ 526/2545.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. หนังสือที่ นร. 0601/0149 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2544 ถึงอธิบดีกรมการปกครอง.

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอานาจฯ สานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรี. 2545. รายงานการประชุม คณะอนุกรรมการด้านการเงิน การคลัง งบประมาณและบุคลากร ครั้งที่ 4/2545.

หนังสือพิมพ์สยามรัฐ. “จับตาจุดจบค่าโง่ อบจ.ขอนแก่นบนความเจ็บปวดของพวกเดียวกัน”สยามรัฐ ปีที่ 52 ฉบับที่ 17836 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2545.

หนังสือพิมพ์สยามรัฐ. “ชี้ปมค่าโง่ขุดลอกห้วยกระดูกเสือ” สยามรัฐ ปีที่ 52 ฉบับที่ 17827 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2545.

หนังสือพิมพ์สยามรัฐประจาวันที่ 4, 14, 16, 19, 20, 21, 22, 23, และ 25กุมภาพันธ์ 2545.

Margaret Young, Conflict of Interest Rules for Federal Legislators, http://www.parl.gc.ca/information/library/PRBpubs/793-e.htm.

Michael McDonald, Ethic and Conflict of Interest, Center of Applied Ethics, http://www.ethics.ubc.ca/mcdonald/conflic.html