บทวิจารณ์หนังสือ เรื่อง “Distributed Public Governance: Agencies, Authorities, and Other Government Bodies” โดย OECD (Organization for Economic Co-operation and Development)

Main Article Content

Wasan Luangprapat

Abstract

     นับตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ปรากฏการณ์หนึ่งที่สาคัญในวงการบริหารจัดการภาครัฐ ได้แก่ ความเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูประบบบริหารงานภาครัฐ (Public Sector Reform) ซึ่งเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ แรงเหวี่ยงแห่งความเปลี่ยนแปลงยังคงปรากฏอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน รวมถึงประเทศไทยเรา


     เหตุแห่งปรากฏการณ์ดังกล่าว ก็ได้ปรากฏคาอธิบายออกมามากมาย ทั้งนี้ ศูนย์รวมของประเด็นปัญหานั้นอยู่ที่ว่า รัฐต้องประสบกับสภาวะที่ตนเองมิอาจจะบริหารปกครอง (Ungovernable) ระบบเศรษฐกิจและสังคมดังเช่นที่ครั้งหนึ่งตนเองเคยมีบทบาทนาและสามารถเข้าไปจัดการ วางกฎเกณฑ์ กาหนดแบบแผน หรือควบคุมแทรกแซงได้ ซึ่งเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรุนแรง รวดเร็ว และครอบคลุมเกือบจะทั้งโลกในด้านเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้แรงขับของระบบทุนนิยม ซึ่งเชื่อมโยงระบบการค้าและการลงทุนของประเทศต่างๆ เข้าด้วยกัน ขณะที่การเมืองก็เกิดกระแสของการพัฒนาไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย (Democratization) หรืออย่างน้อยก็เกิดภาวะของการยอมรับในค่านิยมทางการเมืองในแบบประชาธิปไตยร่วมของประชาคมโลก อีกทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการติดต่อสื่อสารที่เชื่อมโลกส่วนต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน เหล่านี้ ผลักดันให้เกิดกระแสความนึกคิดโดยทั่วไปว่า เมื่อภาคต่างๆ ในทางสังคมกาลังเข้าสู่ “ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่าน” (transformation) จึงเลี่ยงมิได้ที่ระบบบริหารราชการจาเป็นต้องปรับตนเองให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว


     ตลอดห้วงทศวรรษที่ 1980 และ 1990 จึงนับเป็นยุคแห่งการปฏิรูประบบบริหารงานภาครัฐ กระแสแห่งการปฏิรูปนี้ส่งผลรุนแรงจนกระทั่งว่า ในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ แองโกล-อเมริกัน (Angle-American Democracies) ที่แม้นจะมีระบบการบริหารงานภาครัฐที่ดีอยู่แล้วได้ประสบกับปัญหาหรือแรงกดดันเพื่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย ก็ยังเข้าร่วมขบวนการแห่งการปฏิรูปนี้อย่างเอาจริงเอาจัง อาทิเช่น นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เป็นต้น

Article Details

How to Cite
luangprapat, wasan . (2020). บทวิจารณ์หนังสือ เรื่อง “Distributed Public Governance: Agencies, Authorities, and Other Government Bodies” โดย OECD (Organization for Economic Co-operation and Development). King Prajadhipok’s Institute Journal, 2(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244805
Section
Original Articles