โครงสร้างทางการเมืองใหม่ กับมาตรการควบคุมการใช้อานาจรัฐ

Main Article Content

Niyom Ratʻamarit

Abstract

     ไรเนิลด์ เนเบอร์ (Reinhold Niebuhr) กล่าวว่า “ ความสามารถของมนุษย์ในการทาให้เกิดความยุติธรรมทาให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นไปได้ ในขณะเดียวกันความโน้มเอียงของมนุษย์ไปในทางอยุติธรรมก็ทาให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นสิ่งจาเป็น” 1 โดยที่มนุษย์มีทั้งความสามารถทาให้เกิดความยุติธรรมและความโน้มเอียงไปในทางที่อาจจะก่อเกิดความอยุติธรรมได้ ความจาเป็นที่จะต้องมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นสิ่งจาเป็น และมาตรการควบคุมการใช้อานาจรัฐโดยวิธีถอดถอนผู้ดารงตาแหน่งระดับสูงจะมีผลในทางปฏิบัติหรือไม่ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยอย่างมาก


     สำหรับสหรัฐอเมริกา ความเป็นประชาธิปไตยในแง่ของโครงสร้างทางการเมืองขึ้นอยู่กับหลักการแบ่งแยกอานาจ และการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างอานาจฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างสถาบันฝ่ายบริหารให้เข้มแข็ง และเป็นอิสระจากฝ่ายรัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อหลีกเลี่ยงระบบการปกครองที่ครอบงาโดยรัฐสภา หรือสิ่งที่เรียกว่า “เผด็จการโดยเสียงข้างมาก” (majority tyranny)2 ส่วนประเทศอังกฤษนั้น แม้โครงสร้างทางการเมืองจะไม่มีการแบ่งแยกอานาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารอย่างแท้จริง เนื่องจากฝ่ายบริหารโดยปรกติจะเป็นฝ่ายคุมเสียงข้างมากในสภาสามัญ แต่การปกครองของอังกฤษก็ไม่มีใครวิจารณ์ว่าเป็นเผด็จการรัฐสภา หรือเผด็จการโดยฝ่ายบริหาร ทั้งนี้เนื่องจากทั้งรัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อสภาสามัญ และทั้งรัฐบาลและสมาชิกสภาสามัญต้องรับผิดชอบต่อพรรค ซึ่งมีความเป็นสถาบันและมีความเป็นตัวแทนของกลุ่ม สมาคม และประชาชน ในวงกว้าง นอกจากนี้ ประเทศอังกฤษยังมีสื่อมวลชนและองค์กรที่ไม่ใช่ภาคราชการ (non-governmental organizations)ที่เข้มแข็งคอยเฝ้าระวังระไวติดตามการทางานของรัฐบาลอีกด้วย


     ในทางตรงกันข้าม ถ้าโครงสร้างการปกครองสร้างเงื่อนไขให้เกิดการครอบงาโดยอานาจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือโครงสร้างทางสังคม เช่น พรรคการเมือง สมาคม กลุ่มผลประโยชน์ องค์กรที่ไม่ใช่ภาคราชการ ไม่เข้มแข็ง การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างอานาจหนึ่งกับอีกอานาจหนึ่ง หรือระหว่างองค์กรทางการปกครองกับองค์กรทางสังคม ย่อมไม่เกิดขึ้น ในบทความนี้จะเป็นการพิจารณาถึงโครงสร้างทางการเมืองของไทยในปัจจุบันว่าเป็นปัญหาหรืออุปสรรคต่อการบังคับใช้มาตรการถอดถอนผู้ดารงตาแหน่งระดับสูงหรือไม่ โดยมีหัวข้อดังนี้ 1) เงื่อนไขที่ทาให้การปกครองเป็นประชาธิปไตย 2) ปัญหาเสถียรภาพของรัฐบาลภายใต้โครงสร้างทางการเมืองก่อนการปฏิรูป 3) โครงสร้างทางการเมืองใหม่และมาตรการถอดถอน และ 4) ปัญหาการถอดถอนผู้ดารงตาแหน่งระดับสูงภายใต้โครงสร้างทางการเมืองใหม่


 

Article Details

How to Cite
ratʻamarit, niyom . (2020). โครงสร้างทางการเมืองใหม่ กับมาตรการควบคุมการใช้อานาจรัฐ. King Prajadhipok’s Institute Journal, 2(3). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244873
Section
Original Articles