อินเตอร์เน็ตกับการเมืองไทย
Main Article Content
Abstract
การขยายตัวของกระบวนการโลกาภิวัตน์และอินเตอร์เน็ต ได้มีอิทธิพลที่สร้างผลกระทบต่อสังคมไทยทั้งในทางตรงและทางอ้อม อันเนื่องมาจากการหลั่งไหลของ “ทุนนิยมสมัยใหม่” ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้ทุนนิยมโลก การค้าระหว่างประเทศ หรือธุรกิจข้ามชาติ เข้ามามีบทบาทต่อการเมืองไทย เกิด “การหลั่งไหลของทุนและข้อมูลข่าวสาร” เข้าสู่ทุกส่วนของประเทศไทย สื่ออินเตอร์เน็ตก็จะแทรกซึมเข้าสู่ทุกตาบล ทุกท้องถิ่น เช่น ในปัจจุบันได้มีการทา “โครงการสารวจความคิดเห็นประชากรทั่วโลก” หรือ แพลนเน็ตโปรเจคท์ (www.planetproject.com) โดยส่งอาสาสมัครลงพื้นที่ทุกประเทศทั่วโลกพร้อมคอมพิวเตอร์พกพา เพื่อทาการสารวจความคิดเห็นของประชากรโลกในเรื่องต่างๆ ด้วยคาถามเดียวกันโดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง ซึ่งการสารวจครั้งนี้จะเน้นประชากรโลกที่ไม่รู้จักเทคโนโลยีเลย
อิทธิพลของกระแส “โลกาภิวัตน์” และ “การเปิดเสรี” ที่เกิดขึ้นและได้ขยายวงกว้างทั่วโลกเช่นนี้ ทาให้การสื่อสารโทรคมนาคมมีความสะดวก ติดต่อกันง่ายขึ้นจึงส่งผลให้การรับรู้ข่าวสารมีความรวดเร็ว และมีลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วโลก หรือเกิดเป็นลักษณะ “หมู่บ้านโลก” (global village) และ “วัฒนธรรมโลก” (global culture) ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมอันเนื่องมาจากการสื่อสารที่รวดเร็วเสมือนอยู่ในชุมชนหรือประเทศเดียวกัน ทาให้เกิดการส่งผ่านวัฒนธรรมผ่านสื่อทันสมัยในยุคโลกาภิวัตน์ จากประเทศตะวันตกที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแตกต่างกับสังคมไทย ทัศนคติและค่านิยมสมัยใหม่แบบตะวันตกจะหลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยที่ยังคงมีทัศนคติ ค่านิยมและวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมอยู่ จึงเกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมนามาซึ่งปัญหาสังคมต่าง ๆ มากมาย เช่น ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ของเยาวชนก่อนวัยอันควร การใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางในการติดต่อเพื่อค้าประเวณี ปัญหาเยาวชนถูกมอมเมาด้วยเกมคอมพิวเตอร์
ทางด้านการเมืองนโยบายของพรรคการเมือง ตลอดจนรัฐบาลก็ได้ให้ความสาคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารโทรคมนาคม และอินเตอร์เน็ตกันอย่างกว้างขวาง ดังเช่น กรณีของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่พยายามเสนอนโยบายในการใช้เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการบริหารประเทศ เช่น มีนโยบายที่จะให้ตาบลต่างๆ ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อสร้างระบบการ “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” (e-commerce) ขายสินค้าหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นนโยบายที่สาคัญของรัฐบาลชุดปัจจุบัน รวมทั้งการนาสมาร์ทการ์ด (smart card) มาใช้แทนที่บัตรประจาตัวประชาชนในแบบเดิมเพื่อรองรับระบบพลเมืองอิเล็กทรอนิกส์ (e-citizen) อันเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) และพัฒนาไปสู่สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e-society) ซึ่งเป็นสังคมที่มีพื้นฐานอยู่บนความรู้ข้อมูลข่าวสาร (knowledge-based society) ผ่านการเรียนรู้ทางเครือข่ายสารสนเทศ (e-learning)
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.