บทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดไทยในงานด้านการพัฒนา ภายใต้กระแสพัฒนาการทางการเมืองแบบประชาธิปไตย และการส่งเสริมการกระจายอานาจ: ศึกษากรณีโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในจังหวัดร้อยเอ็ดและนนทบุรี

Main Article Content

Supasawad Chardchawarn

Abstract

     ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นตาแหน่งซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีความสาคัญในการบริหารราชการของไทยมาเป็นเวลาช้านาน ผู้ว่าราชการจังหวัดถือเป็นตัวแทนของรัฐที่มีบทบาทหน้าที่ที่กว้างขวางในหลายๆด้าน อาทิเช่น การรักษาความสงบเรียบร้อย การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นตาแหน่งได้รับการยอมรับว่าเป็นตาแหน่งที่มีความสาคัญอย่างมากนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพัฒนาการของสถาบันผู้ว่าราชการจังหวัดเอง ซึ่งหากมองย้อนไปในในอดีต จะเห็นได้ว่า ก่อนรัฐไทยจะพัฒนาสู่การเป็นรัฐสมัยใหม่ (Modern State) ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือที่ในอดีตเรียกกันว่า “เจ้าเมือง” นั้น มีสถานะเป็นผู้ปกครองเมืองหรือจังหวัดต่างๆที่มีอานาจแบบกึ่งอิสระจากอานาจของพระมหากษัตริย์ ภายใต้ระบบที่เรียกกันว่า “การกินเมือง” ในการปกครองแบบดังกล่าว เมืองต่างๆจะมีระดับความเจริญ หรือความสงบสุขมากน้อยเพียงใด ก็สุดแท้แต่ความสามารถและแนวทางในการปกครองของเจ้าเมืองแต่ละคน โดยที่พระมหากษัตริย์เองก็มิสามารถที่จะควบคุมให้การปกครองของเจ้าเมืองแต่ละแห่งเป็นไปภายใต้บรรทัดฐาน และแบบแผนเดียวกันได้ 


     แม้ว่าประเทศไทยจะได้มีพัฒนาการสู่การเป็นรัฐสมัยใหม่ และมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ก็ตาม แต่ทว่านับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นเวลากว่าสี่ทศวรรษ ระบบการเมืองของไทยยังคงได้รับการนิยามว่ามีลักษณะเป็น “อามาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) อันหมายถึงระบบการเมืองที่ขาดพลังภายนอกระบบราชการที่ตื่นตัวและมีบทบาทที่เข้มแข็ง ทาให้การปกครองและการบริหารประเทศกลายเป็นหน้าที่ที่สาคัญของข้าราชการ รัฐบาลที่ทาหน้าที่ในการบริหารและปกครองประเทศจึงประกอบไปด้วยบุคคลที่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการอยู่เป็นจานวนมาก ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ซึ่งผลกระทบที่สาคัญของระบบการเมืองแบบดังกล่าว ก็คือ รัฐบาลซึ่งบริหารประเทศจะคานึงถึงแต่เพียงผลประโยชน์ภายในระบบราชการเอง มากกว่าที่ตระหนักถึงผลประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม ทำให้แนวนโยบายต่างๆของรัฐบาลโดยหลัก มิได้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของประชาชนโดยส่วนรวม

Article Details

How to Cite
chardchawarn, supasawad . (2020). บทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดไทยในงานด้านการพัฒนา ภายใต้กระแสพัฒนาการทางการเมืองแบบประชาธิปไตย และการส่งเสริมการกระจายอานาจ: ศึกษากรณีโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในจังหวัดร้อยเอ็ดและนนทบุรี. King Prajadhipok’s Institute Journal, 2(3). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244881
Section
Original Articles

References

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2540). 100 ปีการปกครองท้องถิ่นไทย: พ.ศ. 2440-2540, กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

นิพนธ์ บุญญภัทโร. (2530). ระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค: วิเคราะห์เฉพาะกรณีเรื่องการมอบอานาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด, รายงานการวิจัยส่วนบุคคล. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ปัญญา อุดชาชน. (2539). บทบาทและอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในระบบกฎหมายไทย, วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันดารงราชานุภาพ, กระทรวงมหาดไทย (2537). บทบาทผู้ว่าราชการจังหวัด: ศึกษาจากวัฒนธรรมความคิด, กรุงเทพฯ: สถาบันดำรงราชานุภาพ.

สมคิด เลิศไพฑูรย์ และคณะ. (2544). สถานภาพและบทบาทของราชการส่วนภูมิภาคในอนาคต, รายงานการวิจัยเสนอต่อสถาบันดำรงราชานุภาพ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Arsa Meksawan. (1961). The Role of Provincial Governor in Thailand, Ph.D. Thesis, Indiana University.

Hewison, K. (1996) “Emerging Social Forces in Thailand: New Political and Economic Roles” in Robinson, M. and Goodman, D., S., G. (eds.) The New Rich in Asia: Mobile Phones, McDonald’s and Middle-Class Revolution, London: Routledge.

LoGerfo, J., P. (2000). “Beyond Bangkok: The Provincial Middle Class in the 1992 Protests” in McVey, R. (ed.) Money & Power in Provincial Thailand, Singapore: ISEAS and Silkworm Books.

McVey, R. (ed.). (2000). Money&Power in Provincial Thailand, Singapore: ISEAS and Silkworm Books.

Paithoon Boonyawat. (1988). The Role of the Governor and the Provincial Committee System in Inter-agency coordination of Rural Development Programs in Thailand: Form versus Reality, Ph.D. Thesis, Northern Illinois University.

Riggs, F. W. (1966). Thailand: The Modernization of Bureaucratic Polity, Honolulu: East-West Center Press.

Tawat Wichaidit. (1973). Provincial Administration in Thailand: Its Development and Present Problems, Ph.D. Thesis, The University of Wisconsin.

จังหวัดนนทบุรี www.nonthaburi.go.th

จังหวัดร้อยเอ็ด www.roiet.go.th

จิรพงษ์ วรัมพร, วิศวกรโยธา สานักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนนทบุรี, 11 มีนาคม 2546.

ชาญชัย สุนทรมัฎฐ์, ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี, 20 สิงหาคม 2546.

ทินกร จุรีมาศ, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด, 5 สิงหาคม 2546.

นุชกร มาศฉมาดล, เทศมนตรี เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด, 25 กุมภาพันธ์ 2546.

ประกอบ ศรีสวัสดิ์, ทางหลวงชนบทจังหวัดนนทบุรี, 12 มกราคม 2547.

รักษ์ ปลอบเมือง, เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด, 23 กุมภาพันธ์ 2546.

วิญญู อังคณารักษ์, อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัด, 23 สิงหาคม 2546.

วุฒิชัย ธงทอง, เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด, 24 กุมภาพันธ์ 2546.

สถาพร มงคลศรีสวัสดิ์, เจ้าของและผู้บริหารโรงแรมเพชรรัตน์ และอดีตรองประธานหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด, 7 สิงหาคม 2546.

สมบัติ สิทธิกรวงศ์, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี, 23 กรกฎาคม 2546.

สุชาติ พัววิไล, อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี, 13 กุมภาพันธ์ 2546.

อาษา เมฆสวรรค์, อดีตรองประธานวุฒิสภาและผู้ว่าราชการจังหวัด, 14 มีนาคม 2546.

อุดร ระโหฐาน, เจ้าหน้าที่ส่วนช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี, 10 มีนาคม 2546.

ฮึกหาญ โตมรศักดิ์, อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด, 18 มีนาคม 2546.