การถอดบทเรียนการพัฒนากติกาชุมชนเพื่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วม เพื่อความยั่งยืน : ศึกษากรณีเครือข่ายโครงการรักษ์ป่าโคกหลวง องค์การบริหารส่วนตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

พนารัตน์ มาศฉมาดล

บทคัดย่อ

     การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบกติกาชุมชนและผลที่เกิดขึ้นจากการใช้กติกาในด้านทรัพยากรร่วมให้สามารถบังคับดั่งเช่นกฎหมายทั่วไป ให้มีความสอดคล้องกับนโยบายของประเทศ และการถอดแนวปฏิบัติที่ดีในการสร้าง บูรณาการกรอบกติการะดับชุมชนกับโครงการในการบริหารจัดการทรัพยากรร่วมในท้องถิ่น เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงสภาพการบูรณาการกติการะดับชุมชนกับกติการะดับที่เหนือกว่า


     ผลการศึกษาพบว่าในอดีตที่ผ่านมาของประเทศไทยมีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยภาครัฐในลักษณะเหมือนการผูกขาดทางการตลาด (หมายถึงการผูกขาดด้านการดำเนินงาน) ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ทำให้ทรัพยากรถูกทำลายมากขึ้น หากให้ชุมชนบริหารจัดการทรัพยากรร่วมด้วยตัวเอง ด้วยการออก “กติการะดับปฏิบัติการหรือระดับชุมชน” ย่อมมีแนวโน้มให้เกิดการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อถอดบทเรียนการพัฒนากติกาของชุมชนในตำบลสวนหม่อน พบว่าเกิดแนวปฏิบัติที่ดีในการบูรณาการกิจกรรมควบคู่ไปกับกติการะดับชุมชนและ กติการะดับท้องถิ่น จึงนำไปสู่แนวปฏิบัติในการออกกติกาในระดับชุมชนที่ประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อกำหนดความประพฤติ ส่วนที่ 2 ข้อกำหนดโทษของการฝ่าฝืน นอกจากนี้ การศึกษายังพบว่ากระบวนการในการสร้างกติกาในระดับปฏิบัติการหรือระดับชุมชน จัดแบ่งออกเป็น
3 ขั้นตอน คือ (1) การรวมตัวเพื่อลงมติ (2) การสร้างกติกา (3) การสร้างองค์กรเพื่อกำกับดูแลกติกา ที่ชุมชนสร้างขึ้น


     ข้อเสนอแนะจากการวิจัยในครั้งนี้ ภาครัฐควรจัดทำมาตรการทางกฎหมายเฉพาะเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรร่วมของประเทศไทย ในรูปแบบของกติการะดับประเทศ ซึ่งได้แก่ “พระราชบัญญัติการบริหารจัดการทรัพยากรร่วม พ.ศ. ...” และ ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยมีมุมมองในด้านสิทธิการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมในรูปแบบของสินค้าสาธารณะที่ต้องควบคู่กับการเคารพกติกาของชุมชนท้องถิ่นที่สร้างขึ้น เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรร่วม พร้อมทั้งเสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรทำการสำรวจความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น เพื่อนำมาจัดทำ “กติกา” สร้างขีดความสามารถ (Capacity-Building) ให้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้หน่วยงานระดับจังหวัดควรวาง “แผนยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด” ว่าด้วยความร่วมมือในการบริหารจัดการทรัพยากรร่วมในเขตพื้นที่ระหว่างหน่วยงานในเขตจังหวัดเดียวกันและพื้นที่ข้างเคียง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมป่าไม้. ข้อมูลสารสนเทศ ป่าสงวนแห่งชาติ. จาก http://forestinfo.forest. go.th/55/National_Forest.aspx สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2559.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2544). ชุมชนนิยม: ฝ่าวิกฤตชุมชนล่มสลาย. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

ชล บุนนาค, (2555). แนวคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม: ประสบการณ์จากต่างประเทศและแนวคิดในประเทศไทย. ชุดหนังสือโครงการการสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะทำงานเครือข่ายวิชาการเพื่อการปฏิรูป.

ชลธิรา สัตยาวัฒนา บรรณาธิการ. (2546). พลวัตสิทธิชุมชน: กระบวนทัศน์ทางมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

นิตยา โพธิ์นอก. (2557). ชุมชนกับสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ปภัสสรา บัวเจริญ. (2557). ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในการจัดการทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาน้ำพุร้อนสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2542). เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ. คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. (ม.ป.ป.) บูรณาการการจัดการทรัพยากร: ทรัพยากรและชุมชน เรื่อง สิทธิชุมชนการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝัง. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์.

เลิศชาย ศิริชัยและคณะ. (2546). สิทธิชุมชนท้องถิ่นภาคใต้. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

เอนก นาคะบุตร. (2538). คนกับดินน้ำป่าจุดเปลี่ยนแห่งความคิด. โครงการพัฒนาที่สูงดอยสามหมื่น และศูนย์ประสานงานเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา (ศอข.). กรุงเทพฯ : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

โอฬาร อ่องฬะ. การจัดการร่วมในพื้นที่ตำบลบ้านหลวง กับการสร้างกติกาในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ. https://www.recoftc.org/node/31240 สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2560.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

พระราชบัญญัติกำหนดและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484

พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504

ธนเสฏฐ์ มีสังข์ทอง. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. สัมภาษณ์ 3 ตุลาคม 2559.

ยุพราช พระนาศรี. เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยองค์การบริหารส่วนตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. สัมภาษณ์ 3 ตุลาคม 2559.

รัตนะ พิมารัย. หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. สัมภาษณ์ 3 ตุลาคม 2559.

สุทัศนีย์ เพ็ชร์นนท์. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. สัมภาษณ์ 3 ตุลาคม 2559.