การปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ในสายตาของ “คนนอก” เอกสารทางการทูตว่าด้วยสยามยุคหลังเปลี่ยนแปลง การปกครอง

Main Article Content

ภูริ ฟูวงศ์เจริญ

บทคัดย่อ

     ใครหลายคนคงตั้งข้อสังเกตว่า การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสยามยุคหลัง เปลี่ยนแปลงการปกครองได้หวนกลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง ดังสะท้อนให้เห็นจากงานวิชาการที่เพิ่มจำนวนขึ้นค่อนข้างต่อเนื่องตลอด 5-6 ปีที่แล้วมา แต่ถึงกระนั้นเพื่อรับประกันว่า การสร้างองค์ความรู้เรื่องการปฏิวัติสยามจะสามารถดำเนินไปอย่างมีน้ำหนัก และปูทางสู่การเปิดประเด็นแปลกใหม่ เรายังมีภารกิจสำคัญที่ควรเอาใจใส่คือ การขยายแหล่งข้อมูลชั้นต้นให้ครอบคลุมกว้างขวางยิ่งกว่าเดิม โดยแนวทางหนึ่งในการรับมือก็อยู่ที่การนำเอกสารทางการทูตเข้ามาประกอบ บทความนี้ต้องการชักชวนผู้วิจัยให้พิจารณาใช้ประโยชน์จากเอกสารทางการทูต เนื้อหาของบทความจะเริ่มต้นจากการบรรยายคุณค่าของเอกสารทางการทูตในฐานะวัตถุดิบสำหรับฉายภาพความเป็นไปของสยามยุคหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ต่อจากนั้นจึงค่อยไล่สำรวจการทำงานของสถานทูตที่มีบทบาทในสยามสมัยนั้นรวม 4 ชาติ คืออังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา พร้อมยกตัวอย่างเอกสารประกอบ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารจดหมายเหตุ

CADC – Centre des Archives diplomatiques de La Courneuve (ฝรั่งเศส)

JACAR – Japan Center for Asian Historical Records (ญี่ปุ่น)

NARA – National Archives and Records Administration (สหรัฐฯ)

SHAT – Service historique de la D?fense (ฝรั่งเศส)

TNA – The National Archives (อังกฤษ)

หนังสือพิมพ์

Straits Times (สิงคโปร์)

หนังสือและบทความ

ชาตรี ประกิตนนทการ. (2552). ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร: สัญลักษณ์ทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์. กรุงเทพฯ : มติชน.

ชาตรี ประกิตนนทการ. (2556). “คณะราษฎรหลังรัฐประหาร 19 กันยา.” อ่าน, 4 (4), นน. 18-39.

ณัฐพล ใจจริง (2556). ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ : ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500). นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน.

พิมพ์พลอย ปากเพรียว (2553). La revolution siamoise de 1932 d’apries le lieutenant-colonel Henri Roux [การปฏิวัติสยาม 2475 ในทัศนะของพันโทอองรี รูซ์]. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ยาสุกิจิ ยาตาเบ (2550). การปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลงในประเทศสยาม : บันทึกของทูตญี่ปุ่นผู้เห็นเหตุการณ์ปฏิวัติ 2475. กรุงเทพฯ : มติชน.

ศราวุฒิ วิสาพรม (2559). ราษฎรสามัญหลังวันปฏิวัติ. กรุงเทพฯ: มติชน.

Aldrich, Richard J. (1993). The key to the South: Britain, the United States, and Thailand during the approach of the Pacific War, 1929-1942. Oxford : Oxford University Press.

Barmé, Scot. (1993). Luang Wichit Wathakan and the creation of a Thai identity. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies.

Crosby, Josiah, Sir (1945). Siam: The crossroads. London : Hollis & Carter ltd.

Stowe, Judith A. (1991). Siam becomes Thailand: A story of intrigue. London : Hurst.

Thomas, Martin. (2010). “Disaster foreseen?: France and the fall of Singapore.” In Brian Farrell & Sandy Hunter (Eds.), A great betrayal?: The fall of Singapore revisited. Singapore : Marshall Cavendish Editions.