การกำหนดนโยบายการพัฒนาเพื่อลด ความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้ พยายามนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยการคำนึงถึงลักษณะและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ในฐานะส่วนประกอบสำคัญที่ก่อให้เกิดแนวนโยบายที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของประเทศ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด,สินเชื่อธนาคารพาณิชย์รายจังหวัด, และการจัดสรรงบประมาณรายจังหวัดซึ่งปัจจัยดังกล่าวนำไปสู่การสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญ คือ นโยบายการขยายผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเพื่อลดความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่, นโยบายระบบการเงินระดับฐานรากเพื่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึง, และนโยบายการจัดสรรงบประมาณบนพื้นฐานของความไม่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ ชุดนโยบายดังกล่าวมุ่งลดระดับความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ของรัฐไทยโดยการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของปัจจัยทั้งสาม ซึ่งจะส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ในจังหวัดต่างๆเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น.
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
ชนรรค์ พุทธมิลินประทีป. การบริหารงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด. สำนักงบประมาณ, http://www.auditor0216.moi.go.th/pdf/budget.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๗.
มูฮัมหมัด ยูนุส. ๒๕๕๑. นายธนาคารเพื่อคนจน Vers Un Mone Sans Pauvrete. แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล. กรุงเทพฯ : มติชน.
ริชาร์ด วิลกินสัน และเคท พิคเก็ตต์. ๒๕๕๕. ความ(ไม่)เท่าเทียม. แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล กรุงเทพฯ : Openworlds.
วีระศักดิ์ เครือเทพ, ภาวิณี ช่วยประคอง และนักวิจัยแผนงานเครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย. การเมืองว่าด้วยการกระจายงบประมาณ และภาษีอากรระหว่างจังหวัด. http://www.siamintelligence.com/budget-distribution-and-tax-fairness-among-provincial/ สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๔.
สฤณี อาชวานันทกุล. ๒๕๕๔. ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา. กรุงเทพมหานคร: สมัชชาปฏิรูปประเทศไทย.
สุกานดา ลูวิส. ๒๕๕๒. พลวัตของ Microfinance และการเงินชุมชน. ใน MICROFINANCE และการเงินชุมชน. บรรณาธิการโดย ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา กรุงเทพฯ : โอเพ่นบุ๊กส์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๓. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ๒๕๕๔. Gross Regional and Provincial Product (GPP). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. ๒๕๕๒. ความมั่นคงของมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานปฏิรูปเพื่อสังคมไทยที่เป็นธรรม. ๒๕๕๔. ข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ. นนทบุรี : คณะกรรมการปฏิรูป สำนักงานปฏิรูปเพื่อสังคมไทยที่เป็นธรรม.
อรรถกฤต ปัจฉิมนันท์. ๒๕๕๓. นโยบายรัฐและความเหลื่อมล้ำของรายได้: กรณีการศึกษาในประเทศไทย. งานวิจัยงบประมาณรายได้ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Stewart, Frances. ed. 2008. Horizontal inequalities and conflict. London: Palgrave Macmillan. Sukkoo Kim. Spatial Inequality and Economic Development: Theories, Fact, and Policies. The Commission on Growth and Development. http://www.growthcommission.org. สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔.