การจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมใน “โครงการโรงเรียนคู่พัฒนาไทย-อินโดนีเซีย” ภายใต้นโยบายขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนของไทย: วิเคราะห์วาระนโยบายและการปฏิบัติ

Main Article Content

อำพา แก้วกำกง

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาการจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมใน “โครงการโรงเรียนคู่พัฒนาไทย-อินโดนีเซีย” ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการภายใต้นโยบายขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน ด้านสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักของเยาวชนในประเด็นสำคัญของโลกและประชาคมอาเซียน โดยวิเคราะห์การนำนโยบายไปปฏิบัติในด้าน 1) การออกแบบนโยบายและโครงการ 2) การดำเนินการและผลการปฏิบัติของโรงเรียน และ 3) แนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและการตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการสำรวจแบบสอบถามในโรงเรียนนำร่องจำนวน 23 แห่ง ได้รับแบบสอบถามตอบกลับ 21 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกระดับนโยบายและระดับปฏิบัติรวม 9 ราย ร่วมกับการเยี่ยมชมโรงเรียนและสังเกตการณ์ จำนวน 7 แห่งในภาคใต้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และนำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive analysis)


ผลการศึกษาพบว่า 1) โครงการโรงเรียนคู่พัฒนาไทย-อินโดนีเซีย ภายใต้นโยบายขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน ได้บรรจุวาระส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมที่พัฒนาโดย SEAMEO, SEAMOLEC และ UN Habitat ซึ่งเป็นวาระที่ตอบสนองต่อการเป็นพลเมืองโลกและพลเมืองอาเซียน และการปรับตัวในศตวรรษที่ 21 2) การจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนมีผลการปฏิบัติดีกว่าด้านอื่นตามขอบข่ายเนื้อหาโครงการคือการเรียนรู้เรื่องค่านิยมร่วมและความเท่าเทียมทางเพศ และการเรียนรู้ภาษาอินโดนีเซีย (ค่าเฉลี่ย = 3.23, 3.05 และ 2.55 ตามลำดับ) และ 3) โรงเรียนมีแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และต่อยอดไปสู่ความร่วมมือที่กว้างออกไปภายนอกโดยเฉพาะกับภาคประชาสังคม ทั้งนี้ แม้ผลการศึกษาจะพบว่าโครงการยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่ผู้ปฏิบัติในโรงเรียนได้เสนอให้ฟื้นฟูและสนับสนุนโครงการให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับผู้ปฏิบัติในส่วนกลางที่ไม่ต้องการให้การลงทุนทางนโยบายต้อง “สูญเปล่า” ทั้งยังสอดคล้องกับบทบาทของประเทศไทยในฐานะผู้ประสานงานหลักในการผลักดันด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในแผนงาน 5 ปีอาเซียน (ค.ศ. 2021-2025)

Article Details

How to Cite
แก้วกำกง อ. (2022). การจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมใน “โครงการโรงเรียนคู่พัฒนาไทย-อินโดนีเซีย” ภายใต้นโยบายขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนของไทย: วิเคราะห์วาระนโยบายและการปฏิบัติ. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 20(1), 168–191. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/252259
บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กระทรวงการต่างประเทศ. (2564). ไทย อินโดนีเซียและแคนาดาร่วมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ

ASEAN Regional Forum (ARF) Workshop on Women, Peace and Security

ผ่านระบบการประชุมทางไกล. สืบค้นจากhttps://www.mfa.go.th/th/content/arfwps020364

กระทรวงการต่างประเทศ. กรมอาเซียน. (2554). อาเซียน ไฮไลท์ส 2554 (ASEAN Highlights

. กรุงเทพฯ: บริษัท เพจเมคเกอร์ จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แผนยุทธศาสตร์อาเซียนด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2558-2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานศึกษาธิการภาค 6. กลุ่มติดตามและประเมินผล. (2557). การศึกษาความสำเร็จของการพัฒนาการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาเขตตรวจราชการที่ 4 และ 5. ภูเก็ต: สำนักงานศึกษาธิการภาค 6.

กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานศึกษาธิการภาค 11. (2556). รายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (Spirt of ASEAN) ปีงบประมาณ 2556. สกลนคร: สำนักงานศึกษาธิการภาค 11.

กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2555ก). การขับเคลื่อนการศึกษาสู่

ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2555ข). การพัฒนาสถานศึกษาสู่

ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: หจก. โรงพิมพ์อักษรไทย.

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา วัน

อังคารที่ 23 สิงหาคม 2554. (2554, 23 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 128 ตอนพิเศษ

ง. น. 6 และ 30-36.

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. (2560). อินโดนีเซียผลักดันวิชาความเท่าเทียมทางเพศ

ในโรงเรียนหลังเหตุความรุนแรงต่อผู้หญิงเพิ่มสูง. สืบค้นจาก

https://www.tcijthai.com/news/2017/09/asean/6820

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). นโยบายและแผน

การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ:

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563-2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานผลการศึกษา การพัฒนามาตรฐานการศึกษา

ของต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

ภาษาอังกฤษ

Ampa Kaewkumkong & Ke Sen. (2019). Challenges of the Buffer School Policy

Implementation in the ASEAN Community era: the case of the Thailand-

Cambodia Border. Asia Pacific Journal of Education, 39(2), 237-251.

ASEAN Secretariat. (2009). ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint. Jakarta:

ASEAN Secretariat.

ASEAN Secretariat. (2012). ASEAN 5-Year Work Plan on Education (2011-2015).

Jakarta: ASEAN Secretariat.

ASEAN Secretariat. (2016). ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint 2025. Jakarta: ASEAN Secretariat.

ASEAN Secretariat. (2020). Initiative for ASEAN Integration (IAI) Work Plan IV

(2021-2025). Jakarta: ASEAN Secretariat.

ASEAN & SEAMEO. (2012). ASEAN Curriculum Sourcebook. Supported by the United

States Agency for International Development (USAID). Honolulu, Hawaii: East-West Center (and Nathan Associates Inc.).

Creswell, J. W. (2015). A Concise Introduction to Mixed Method Research.

Thousand Oaks, CA: SAGE Publishing.

Education Grantmakers Institute. (2011). Implementing Education Policy:

Getting from What Now? to What Works. Massachusetts: Harvard Graduate

School of Education.

Honig, M. I. (2006). Complexity and Policy Implementation: Challenges and

Opportunities for the Field. In M. I. Honig (Ed.), New Directions in Education

Policy Implementation: Confronting Complexity (pp. 1-24). Albany: State University of New York Press.

Indonesia-Thailand Partnership Activities. (2012). Rachineeburana School: Activities

on World Environment Day - Web Blog. Retrieved from

https://indothaipartnership.wordpress.com/2012/06/27/rn-activities-on-world-environment-day/

Kraemer, Daniel. (2021, November 5). Greta Thunberg: Who is the Climate Campaigner and What are Her Aims?. BBC News. Retrieved from

https://www.bbc.com/news/world-europe-49918719

Mugambwa, J., et al. (2018). Policy Implementation: Conceptual Foundations,

Accumulated Wisdom and New Directions. Journal of Public Administration

and Governance, 8(3), 211-231.

Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). (2018).

Implementing Education Policies: Realising Effective Change in Education.

Retrieved from http://www.oecd.org/education/implementing-education-policies-flyer.pdf

SEAMEO-SEAMOLEC. (2021). SEAMOLEC: Vision & Mission. Retrieved from

https://www.seamolec.org/seamolec

UNESCO. (2017). Education for Sustainable Development Goals: Learning

Objectives. Paris: UNESCO.

UNESCO, et al. (2016). Education 2030 - Incheon Declaration and Framework for

Action: Towards Inclusive and Equitable Quality Education and Lifelong

Learning for all. Paris: UNESCO.

Viennet, R. & Pont, B. (2017). Education Policy Implementation: A Literature

Review and Proposed Framework. OECD Education Working Papers No. 162. Paris: OECD iLibrary.

World Economic Forum. (2021). Global Gender Gap Report 2021. Geneva: The

World Economic Forum.