รัฐธรรมนูญ หลักประกันกระบวนการสร้างสันติภาพ ในมินดาเนาและชายแดนใต้ของไทย?
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการรัฐธรรมนูญ หลักประกันกระบวนการสร้างสันติภาพในมินดาเนาและชายแดนใต้ของไทย? มีเป้าหมายเพื่อที่จะเข้าใจแนวทางการเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งในมุมมองที่เกี่ยวข้องระหว่างรัฐธรรมนูญกับกระบวนการสันติภาพ โดยศึกษาเปรียบเทียบพื้นที่ความขัดแย้งบังซาโมโรในมินดาเนาทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์กับจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย งานศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์เอกสารทางวิชาการ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและข้อมูลบางส่วนจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการ จากการศึกษาในเชิงเปรียบเทียบค้นพบว่า ข้อตกลงสันติภาพ ตัวบทรัฐธรรมนูญ โครงสร้างการทำงานเพื่อสันติภาพ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืน กรณีศึกษาความขัดแย้งในบังซาโมโรพบว่าในความเป็นจริงแม้จะมีอุปสรรคในการสถาปนาโครงสร้างการเมืองการปกครองในพื้นที่ความขัดแย้งบังซาโมแต่การที่รัฐธรรมนูญฟิลิปปินส์ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนถึงการมีพื้นที่ปกครองตนเองมินดาเนา ถือได้ว่าเป็นหลักประกันในการผลักดันข้อตกลงสันติภาพให้มีผลในทางกฎหมายที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ขณะที่ความขัดแย้งที่ชายแดนใต้ที่ยังมีความรุนแรงยืดเยื้อและการบริหารงานพื้นที่ถูกกำหนดผ่านกลไกและหน่วยงานพิเศษอย่างกองอำนวยการรักษาความสงบภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.) และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) บทเรียนจากมินดาเนาสามารถเป็นบทเรียนให้กับความขัดแย้งที่ชายแดนใต้ว่าการแสวงหาทางออกทางการเมืองผ่านกระบวนการจำเป็นต้องมุ่งพิจารณาที่ไปรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองที่เกี่ยวข้องในฐานะที่เป็นโครงสร้างการทำงานเพื่อสันติภาพที่ต้องการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการแสวงหาหลักประกันเพื่อสันติภาพที่ยั่งยืนในชายแดนใต้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
ภาษาไทย
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 230/2557. (2557). การจัดตั้งกลไกขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้. สืบค้นจาก https://deepsouthwatch.org/sites/
default/files/archives/docs/pm_order_230_2557_peace_dialogue_mechanism_plus.pdf
เครือข่ายวิชาการ Peace Survey. (2559ก). รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้ ครั้งที่ 1 กุมภาพันธ์-มีนาคม 2559. กรุงเทพฯ: สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า.
. (2559ข). รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้ ครั้งที่ 2 กรกฎาคม –สิงหาคม 2559. กรุงเทพฯ: สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า.
. (2560). รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้ ครั้งที่ 3 เมษายน – พฤษภาคม 2560. กรุงเทพฯ: สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า.
. (2561). รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้ ครั้งที่ 4 สิงหาคม – กันยายน 2561. กรุงเทพฯ: สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า.
. (2562). รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้ ครั้งที่ 5 กันยายน – ตุลาคม 2562. กรุงเทพฯ: สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า.
. (2564). การแถลงผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ครั้งที่ 6. สืบค้นจากhttps://cscd.psu.ac.th/th/node/342
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2562). อารมณ์กับประชาธิปไตยไทย. ใน ประจักษ์ ก้องกีรติ (บรรณาธิการ), อดีต ปัจจุบันและอนาคตประชาธิปไตยไทย (น. 60). กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ. (2555). ทางเลือกไฟใต้ เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไร. กรุงเทพฯ: สมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสตร์ภาคใต้.
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 98/2557. (2557, 30 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 ตอนที่ 143 ง. น. 1-4.
พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553. (2553, 29 ธันวาคม).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 80 ก. น. 1-16.
มุสลิม, มาคาปาโด อาบาตอน. (2019). กฎหมายบังซาโมโรประกอบรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2018 ในประเทศฟิลิปปินส์: การแก้ไขความขัดแย้งในมินดาเนาโดยให้สิทธิการปกครองตนเองและให้ได้รับการชดเชยอย่างยุติธรรม [The 2018 Bangsamoro Organic Law in the Philippines: Solving the Mindanao Conflict with Autonomy Plus Compensatory Justice] (สีดา สอนศรี, ผู้แปล,). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รอมฎอน ปันจอร์. (2565). ความกำกวมและก้ำกึ่งของระบอบและรูปแบบรัฐไทย. ฟ้าเดียวกัน, 20(1), 75-90.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540. (2540, 11 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก. น. 1-99.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2540, 11 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. น. 1-90.
ริชมอนด์, โอลิเวอร์ พี. (2557). สันติภาพ: ความรู้ฉบับพกพา [Peace: A Very Short Introduction] (รัฐวิศว์ เอื้อประชานนท์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. (อยู่ระหว่างการตีพิมพ์).
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี. (2563). การเมืองการปกครองและการจัดการความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ (ปาตานี). ปัตตานี: สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
. (2565). ชายแดนใต้/ปาตานี 2547-2564: ก้าวเข้าปีที่สิบเก้า สันติภาพจะเดินหน้าไปถึงไหนในปี 2565. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/deepsouthwatch
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี , ฟารีดา ปันจอร์, สุทธิศักดิ์ ดือเระ, อัมพร หมาดเด็น, มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง และรอมฎอน ปันจอร์. (2565). รายงานวิจัย การแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งเพื่อแสวงหาสันติภาพชายแดนใต้ผ่านกระบวนการปรับปรุงสถาบันทางการเมืองและรัฐธรรมนูญของประเทศไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน. ปัตตานี: สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (อยู่ระหว่างดำเนินการ).
สีดา สอนศรี. (2550). การร่างรัฐธรรมนูญของฟิลิปปินส์ : ประสบการณ์สำหรับประเทศไทย. สืบค้น https://mgronline.com/daily/detail/9500000040775
ภาษาอังกฤษ
Abubakar, Arisi. (1992). Autonomy in Southern Philippine During the Marcos Administration. Retrieved from https://asj.upd.edu.ph/mediabox/archive/ASJ-30-1992/abubakar.pdf
Berghof Foundation . (2021). Constitutions and Peace Processes: A Primer. Retrieved from https://berghof-foundation.org/library/constitutions-and-peace-processes-a-primer
Centre for Humanitarian Dialogue. (1976). The Tripoli Agreement. Retrieved from https://www.hdcentre.org/wp-content/uploads/2016/06/The-Tripoli-Agreement-1976.pdf
Hannum, Hurst. (1996). Autonomy, Sovereignty, and Self-Determination: The Accommodation of Conflicting Rights. Philadelphia: University of Pennsylvania Press.
Hasselbach, Christoph. (2019). The German Constitution: Putting People First. https://www.dw.com/en/the-german-constitution-putting-people-first/a-48824174
Kymlicka, Will. (2002). Contemporary Political Philosophy. Oxford and New York: Oxford University Press.
Lau, Bryony. (2019). The Philippines: Peace talks and autonomy in Mindanao. Retrieved from http://www.forumfed.org/publications/philippines-peace-talks-autonomy-mindanao-number-35/
Lederach, Paul. (2003). The Little Book of Conflict Transformation. Intercourse, PA: GoodBooks.
Mason, Ra. (2021). Japan: Pressure from Populist Right to Scrap ‘Peace Constitution’ After 75 Years. Retrieved from https://theconversation.com/japan-pressure-from-populist-right-to-scrap-peace-constitution-after-75-years-171333
Ochiai, Naoyuki. (2020). Peace and Development in Mindanao, Public of the Philippines. Retrieved from https://www.jica.go.jp/jica-ri/publication/
projecthistory/post_25.html
Parekh, Bhiku. (2002). Rethinking Multiculturalism: Cultural Diversity and Political Theory. Cambridge, Massachusettes: Cambridge University Press.
The Official Gazette of Government of Philippines. (1973). The Constitution of the Republic of the Philippines. Retrieved from https://www.officialgazette.gov.ph/constitutions/1973-constitution-of-the-republic-of-the-philippines-2/
. (1987). The Constitution of the Republic of the Philippines. Retrieved from https://www.officialgazette.gov.ph/constitutions/1987-constitution/