การศึกษาปัจจัยเชิงสถาบันและระบบการเมืองที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ รายจ่ายสาธารณะด้านการศึกษา ระหว่างปี พ.ศ. 2541 – 2562

Main Article Content

พิชิตชัย กิ่งพวง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ถึงปัจจัยเชิงสถาบันและระบบการเมืองที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรายจ่ายสาธารณะด้านการศึกษาของไทย เปรียบเทียบกับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) และเป็นข้อมูลอนุกรมเวลา (time series) ในช่วงระยะเวลา 22 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 – 2562 มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ได้แก่ เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยเชิงสถาบันและระบบการเมืองที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงรายจ่ายสาธารณะด้านการศึกษา เปรียบเทียบกับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม ในช่วงปี พ.ศ.2541-2562 และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนารูปแบบการจัดสรรรายจ่ายสาธารณะที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการศึกษามากขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและขยายโอกาสทางการศึกษา


ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของรายจ่ายสาธารณะด้านการศึกษา ได้แก่ จำนวนประชากร การพัฒนาทางเศรษฐกิจ (วัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ (วัดจากสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคในการกระจายรายได้) และการเปิดเสรีทางการค้า มีความสัมพันธ์กับรายจ่ายสาธารณะด้านการศึกษา ส่วนปัจจัยเชิงสถาบันและระบบการเมืองที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของรายจ่ายสาธารณะด้านการศึกษา ได้แก่ การตัดสินใจแบบค่อยเป็นค่อยไปในระบบราชการ ซึ่งพิจารณาจากรายจ่ายสาธารณะด้านการศึกษาในปีก่อนหน้า ประสิทธิภาพภาครัฐ และเสถียรภาพทางการเมืองและการปราศจากความรุนแรง โดยรายจ่ายสาธารณะด้านการศึกษามีแนวโน้มค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากร อัตราการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคในการกระจายรายได้ ซึ่งเป็นปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป และเป็นปัจจัยที่รัฐควบคุมได้ยาก โดยมีผลให้การจัดสรรรายจ่ายสาธารณะด้านการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมเพียงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประเทศยังมีความเหลื่อมล้ำในระดับสูง หากต้องการให้รายจ่ายสาธารณะด้านการศึกษาเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างมาก จะต้องสนับสนุนหรือกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยอื่นๆ อาทิ การอาศัยโอกาสจากการเปิดเสรีทางการค้า เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นปัจจัยทางอ้อมหรือปัจจัยสนับสนุนให้รัฐสามารถจัดเก็บรายได้ได้เพิ่มขึ้น และทำให้รัฐมีรายได้เพื่อใช้ในการจัดบริการสาธารณะได้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งต้องกำกับดูแลให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้งบประมาณถูกใช้ไปอย่างคุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับการกำกับดูแลให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองฯ และเสรีภาพของพลเมือง เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปด้วยความต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
กิ่งพวง พ. (2023). การศึกษาปัจจัยเชิงสถาบันและระบบการเมืองที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ รายจ่ายสาธารณะด้านการศึกษา ระหว่างปี พ.ศ. 2541 – 2562. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 21(1), 59–85. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/262222
บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2561). เจาะลึกบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาไทย และข้อเสนอเชิงนโยบาย. สืบค้นจาก https://www.eef.or.th/wp-content/uploads/

/10/PB_EEF-1.pdf

เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม. (2546). การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์. (2558). เผยรายจ่ายการศึกษาไทย: เงินหายไปไหนหมด. ใน โครงการติดตามประเด็นเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธร ปีติดล. (2559). ภาษีกับการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ. สืบค้นจาก https://www.bangkok

biznews.com/blogs/columnist/112691

พลภัทร บุราคม. (2560). รายจ่ายสาธารณะ: ประสิทธิภาพในการจัดสรรและประสบการณ์ระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของรายจ่ายสาธารณะและการกระจายผลประโยชน์ของรายจ่ายสาธารณะในประเทศไทย. นนทบุรี: โรงพิมพ์รัตนไตร.

เพ็ญแข แสงแก้ว. (2544). การวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรพงศ์ ตระการศิรินนท์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อรายจ่ายสาธารณะด้านสังคมและผลต่อการกระจายรายได้ของไทย. (รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, คณะรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ.

สมชัย จิตสุชน. (2558). รายงานการวิจัย ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย: แนวโน้ม นโยบาย และแนวทางขับเคลื่อนนโยบาย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สมบัติ ธํารงธัญวงศ์. (2560). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ. กรุงเทพฯ: โครงการเอกสารและตำคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2566). เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย. สืบค้นจาก http://www.fpojournal.com/important-events-in-thai-economic-history/

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ. (2545). การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐาน. กรุงเทพฯ: สามลดา.

ภาษาอังกฤษ

Buracom, P. (2017). Globalization, Democracy, and Social Spending in ASEAN. Proceedings of 2017 Annual KAPA International Conference, South Korea, 1759-1783.

Easton, D. (1957). An Approach to the Analysis of Political Systems. World Politics, 9(3), 383-400.

. (1965). A Framework for Political Analysis. Englewood Cliffs, N.J.:

Prentice-Hall.

Mauro, P. (1997). Why worry about corruption?. Washington, D.C.: International Monetary Fund.

Mueller, D. C. (1987). The Growth of Government: a Public Choice Perspective. Staff Papers-International Monetary Fund, 115-149.

Musgrave, R. A. (1969). Fiscal Systems. New Haven: Yale University Press.