การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

สุพัตตรา ตันติจริยาพันธ์
ยุพิน เถื่อนศรี
อุทัย ละชั่ว

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งจากผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาความเป็นพลเมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเชิงพื้นที่ 2) เพื่อทดลองและประเมินผลการใช้หลักสูตร และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแก่ประชาชนในจังหวัดอุตรดิตถ์ การวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบผสานวิธี  โดยการวิจัยเชิงคุณภาพมีผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดสนทนากลุ่มย่อย และหลักสูตรนำร่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์แบบอุปนัย และการวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย ประชากร จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่  การแจกแจงความถี่ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง และการวัดการกระจาย  สรุปผลการวิจัย ดังนี้


ผลการวิจัยข้อที่ 1 พบว่า คุณลักษณะของพลเมืองที่พบเพื่อนำมาพัฒนาหลักสูตรมี 6 กลุ่มคุณลักษณะ ได้แก่ 1) ด้านความเข้าใจเกี่ยวกับระบอบการปกครอง 2) ด้านการเคารพและการยอมรับกฎหมายและกฎระเบียบในสังคม 3) ด้านการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบ 4) ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 5) หลักคุณธรรม และ 6) คุณลักษณะอื่นๆ เช่น มีเหตุผล สำหรับการพัฒนาหลักสูตร ชื่อหลักสูตรการสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจังหวัดอุตรดิตถ์  โครงสร้างหลักสูตร มีจำนวน 96 ชั่วโมง (6 หน่วยกิต) มีกลุ่มเนื้อหาประกอบด้วย กลุ่มวิชาแกนกลาง วิชาท้องถิ่น วิชาเฉพาะกลุ่ม และโครงงาน ผลการวิจัยข้อที่ 2 พบว่า ผลการใช้หลักสูตรมีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้และพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน และโครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดจากสามด้าน  และผลการวิจัยข้อที่ 3 เช่น 1) ควรจัดทำหลักสูตรเพื่อการสร้างความความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้กับประชาชนในทุกระดับในจังหวัดอุตรดิตถ์ 2) ควรส่งเสริมให้มีการจัดทำระบบธนาคารหน่วยกิตร่วมกับสถาบันทางวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3) ควรสนับสนุนผู้เรียนทุกกลุ่มโดยไม่จำกัดหรือมีเงื่อนไขใดๆที่นำไปสู่การลดทอนโอกาสในการเข้าถึงการเรียนรู้ และ 4) ควรพัฒนานโยบายสาธารณะจากหลักสูตรการศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในจังหวัดอุตรดิตถ์

Article Details

How to Cite
ตันติจริยาพันธ์ ส., เถื่อนศรี ย., & ละชั่ว อ. (2024). การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 22(1), 159–183. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/268853
บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

ชัยนิตย์ พรรณาวร และรุจิร์ ภู่สาระ. (2556). การพัฒนาหลักสูตรการเป็นพลเมืองดีสำหรับเยาวชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 3(2), 97-103.

ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2557). พลเมือง สิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมนโยบายศึกษา.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง (Civic Education) : แก้ปัญหาการเมืองไทยโดยสร้างประชาธิปไตยที่ “คน”. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้าครั้งที่ 13 ประจำปี 2554 เล่ม 2 ความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย (Citizenship and the Future of Thai Democracy) (น. 243 - 265). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

พนารัตน์ วิทยอนันต์. (2563). การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 12 (1), 293-301.

เพ็ญณี กันตะวงษ์ และศิวัช ศรีโภคางกุล. (2563). การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกา. วารสารมนุษย์กับสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 6(1), 111-130.

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, กองนโยบายและแผน. (2565). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2569. สืบค้นจาก https://plan.uru.ac.th/download/y65_69.pdf

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2554). การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/การศึกษาเพื่อสร้างความ/

วิลาพัณย์ อุรบุญนวลชาติ และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2562). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครูประถมศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 11(2), 306-323.

ศรัณยุ หมั้นทรัพย์. (2551). การศึกษาเพื่อสรางพลเมือง : ฐานรากของการเมืองภาคพลเมือง. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 6(2),1 -16.

ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าจังหวัดอุตรดิตถ์. (2565). รายงานผลการดำเนินโครงการโรงเรียนพลเมือง ประจำปี 2565. อุตรดิตถ์: ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าจังหวัดอุตรดิตถ์.

ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าจังหวัดอุตรดิตถ์. (2566). แผนยุทธศาสตร์ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดอุตรดิตถ์ ฉบับที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566–2569. อุตรดิตถ์: ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าจังหวัดอุตรดิตถ์.

สถาบันพระปกเกล้า, สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง. (2564). แนวทางและขั้นตอนการเสนอโครงการการข้อรับทุนศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมืองสถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

อำพล จินดาวัฒนะ และสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล. (2555). ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นพลเมืองในสังคมไทย. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้าครั้งที่ 13 ประจำปี 2554 เล่ม 2 ความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย (Citizenship and the Future of Thai Democracy) (น. 237-242). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ภาษาอังกฤษ

Chen, Y. (2011). Education: Why is Finland Tops in Civics?. Retrieved from https://english.cw.com.tw/article/article.action?id=762.

Cogan, John J. & Kubow, Patricia Kristine. (1997). Multidimensional Citizenship: Educational Policy for the Twenty-first Century Final Report of the Citizenship Education Policy Study Project. Tokyo: Sasakawa Peace Foundation.

Kaihari, K. (2014). Democracy and Human Rights in Finnish Basic Education. Finnish National Board Of Education. Retrieved from http://www.oph.fi.

UNESCO. Global Citizenship Education for the Rule of Law: Doing the Right Thing. Retrieved from https://unesdoc.unesco.org/ark: /48223/pf0000368660/PDF/368660eng.pdf.multi

Westheimer, J., & Kahne, J. (2004). What Kind of Citizen? The Politics of Educating for Democracy. American Educational Research Journal, 41(2), 237-269.

Yoldas, Ozlem Becerik. (2015). Civic Education and Learning Democracy: Their Importance for Political Participation of Young People. Procedia - Social and Behavioral Sciences, (174), 544–549.