แนวทางพัฒนาการบริหารการทำเกษตรกรรมของประชาชนกลุ่มบ้านแก้งเกีย เมืองบาเจียงจะเลินสุก แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

สุดง แสนวิไล
วินัย จำปาอ่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการทำเกษตรกรรมของประชาชนและแนวทางพัฒนาการบริหารการทำเกษตรกรรมของประชาชนกลุ่มบ้านแก้งเกีย เมืองบาเจียงจะเลินสุก แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตทะเบียนการค้า จำนวน 255 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา


                 ผลการวิจัยพบว่า


                 สภาพการบริหารการทำเกษตรกรรมของประชาชนกลุ่มบ้านแก้งเกีย เมืองบาเจียงจะเลินสุก แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านพัฒนาฐานทรัพยากร รองลงมา คือ ด้านสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร ด้านยกระดับความสามารถการแข่งขัน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริหารจัดการ แนวทางพัฒนาการบริหารการทำเกษตรกรรมของประชาชนกลุ่มบ้านแก้งเกีย เมืองบาเจียงจะเลินสุก แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้านพัฒนาฐานทรัพยากร ควรเพิ่มการขยายที่ดินให้แก่เกษตรกรเพื่อนำใช้อย่างถูกต้อง ผลักดันในด้านวิชาชีพในการผลิตให้แก่ประชาชน ด้านยกระดับความสามารถการแข่งขัน ควรจัดเพิ่มหาตลาดเพื่อรองรับผลผลิตทั้งภายในท้องถิ่นและภายนอก ยกระดับความรู้ เทคนิคแบบใหม่ ๆ ในการผลิตให้แก่ประชาชน ด้านสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร ควรให้ความรู้แก่เกษตรกรในด้านนโยบายการสนับสนุนของภาครัฐ พัฒนาทางด้านการค้าและราคาให้ปลูกพืชตามที่ตลาดต้องการควบคู่กับการผลิตแบบดั้งเดิม ด้านการบริหารจัดการ แนวทางการพัฒนา ควรให้ความรู้แก่เกษตรกรในด้านต่าง ๆ ทั้งเมล็ดพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ที่ตลาดต้องการ ให้หน่วยงานการปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถ่ายทอดความรู้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง

Article Details

บท
Research Articles

References

กิตติวัฒน์ ทิพย์วัลย์. การพัฒนาเกษตรทางเลือกในทัศนะของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะตอ อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 2557.
คณะกรรมการแผนการและการลงทุน. แผนพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม 5 ปี ครั้งที่ 4 (2006-2010). นครหลวงเวียงจันทน์: กระทรวงแผนการและการลงทุน, 2006.
จุรณิตา แสงเรืองอ่อน. The ASEAN expert report on “STUDY ON THE STATE OF S&TDEVELOPMENT IN ASEAN” commissioned and endorsed by the ASEANCOST-62 and AMMST-14 in the last meeting in Vietnam in Nov 2011. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.
นิศานาถ ธนะรังสฤษฏ์. บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาการเกษตรในจังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่., 2557.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2554.
ลดาวัลย์ คำภา. เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการพัฒนาระบบเกษตรกรรมที่เข้มแข็งและยั่งยืนสำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2557.
สตัมภ์ เครือคำปลิว. บทบาทของสถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน (ISAC) ในการขับเคลื่อนเกษตรทางเลือก: กรณีศึกษาบ้านดอนเจียง ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2557.
กรมปลูกฝังและส่งเสริมการเกษตร. ระเบียบการใช้พันธุ์หรือเมล็ดพันธุ์พืชสำหรับการเพาะปลูกในประเทศลาว. นครหลวงเวียงจันทน์: กระทรวงเกษตร และป่าไม้, 1998.
Likert, Rensis . The Human Resources: Cases and Concept. New York: Hart Cout Brace B . World in Cooperated, 1970.