บทวิเคราะห์นโยบายโครงการบ้านเอื้ออาทร

Main Article Content

คมสันต์ บุพตา

บทคัดย่อ

จากการสำรวจข้อมูลภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2556พบว่าประเทศไทยมีจำนวนครัวเรือนประมาณ 20.167 ล้านครัวเรือนเป็นครัวเรือนที่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยประมาณ 15.510 ล้านครัวเรือนส่วนที่เหลือเป็นครัวเรือนที่ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยจำนวนประมาณ4.657 ล้านครัวเรือนและในกลุ่มนี้เป็นครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยที่ต้องการความช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัยประมาณ 2.726 ล้านครัวเรือนรัฐบาลปัจจุบันซึ่งให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจนลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคมการสร้างโอกาสการเข้าถึงสวัสดิการสังคมและที่อยู่อาศัยได้กำหนดการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยให้มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยเป็นนโยบายเร่งด่วนและสั่งการให้แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยซึ่งครอบคลุมถึงเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยของรัฐทั้งข้าราชการพลเรือนทหารตำรวจและครูทั้งประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี(พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา) ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2558 เรื่องการขับเคลื่อนด้านที่อยู่อาศัยโดยมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยโดยบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโครงการบ้านเอื้ออาทร เป็นโครงการเคหะชุมชนที่ออกแบบมาเพื่อให้ครัวเรือนรายได้น้อย สามารถเข้าถึงการมีกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในชุมชนใหม่พร้อมความมั่นคงทางสังคมและส่วนบุคคล แม้ว่าโครงการนี้จะมุ่งเป้าไปที่การกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่ก็มีการจัดหากรรมสิทธิ์ที่ดินและที่อยู่อาศัยราคาไม่แพงในชุมชนที่มีสาธารณูปโภคใหม่ นอกจากนี้โครงการนี้ยังถูกออกแบบมาเพื่อลดและป้องกันการขยายตัวของชุมชนที่ไม่เป็นทางการหรือแหล่งเสื่อมโทรม

Article Details

บท
Academic Article

References

กฤษณา ปลั่งเจริญศรี, บัณฑิต ผังนิรันดร์, อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน(2554). บุพปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทรในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2554.

การเคหะแห่งชาติ (2556). ผลสำรวจการเก็บข้อมูลภาคการเคหะแห่งประเทศไทย. (Online). www://open_jicareport.jica.go.jp/pdf/1000013802.pdf.

จุมพล หนิมพานิช. (2549).การวิเคราะห์นโยบาย : ขอบข่าย แนวคิด ทฤษฎีและกรณีตัวอย่างพิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไชยยันต์ ชาครกุล. (2545). ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ประเทศยั่งยืน. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ณดา จันทร์สม, สิทธิเดช นิลสัมฤทธิ์, วัฒนา พัฒนพงษ์, พลาพรรณ คำพรรณ, บุญสม เลิศลัทธภรณ์ และ มนตรีเกิดมีมูล. (2550). คุณภาพชีวิตของคนไทยในบริบทของการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปกรณ์ ปรียากร. (2538). เอกสารประกอบคำบรรยายวิชา รศ.640. นโยบายสาธารณะและการวางแผน. กรุงเทพฯ.

ปรีดิยาธร เทวกุล. (2550). ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิชาการและพัฒนาที่อยู่อาศัยการเคหะแห่งชาติ.

พงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์. (2548). บทวิเคราะห์นโยบายที่อยู่อาศัยของประเทศไทย. เอกสารประกอบการอภิปราย เรื่องความคิดเห็นของหน่วยงานราชการและผู้ทรงคุณวุฒิต่อนโยบายที่อยู่อาศัยประเทศไทย. กรุงเทพฯ:ธนาคารอาคารสงเคราะห์.

โยธิน แสวงดี. (2548). “การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในครัวเรือนไทย”. วารสารประชากรและการพัฒนาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม. มหาวิทยาลัยมหิดล, 17(5), 60-62.

วิเชียร ชื่นชอบ. (2548). เอกสารประกอบการบรรยายวิชานโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคำแหง.สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สัญญา เคณาภูมิ. (2559). การกำหนดนโยบายสาธารณะ : ทฤษฎีและกระบวนการ. (Online).http://www.human.ubru.ac.th/journaln/index.php/hu/article/viewFile/204/1 54. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2560.

สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์ (2541). รายงานการวิจัยคุณภาพชีวิตของคนในเขตเมืองภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อคิน รพีพัฒน์. (2542). ชุมชนแออัด: องค์ความรู้กับความเป็นจริง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Beard, A.V. (2007). “Household Contributions to Community Development in Indonesia,” World Development, 35(4), 607-625

Bellagio, Housing. & Declaration. (2005). “Housing as an Instrument of Economic and Social Development.” The Bellagio Housing Conference organized by the Joint Center for Housing Studies of Harvard University supported by the Rockefeller.

Cella, D. F.(1994).“Quality of life: Concepts and definition” Journal of Pain and Symptom Management, 9( 3), 186-192.

Dror,Y. (1968).PublicPolicy- makingRe-examined. SanFrancisco, CA: Chandles.

Fayers, P. &Bottomley A. (2002). “Quality of life research within the EORTC—the EORTC QLQ-C 30.” European Journal of Cancer, 38(4), 125-133.

Lindblom, Charles E. (1980). The Policy Making Process.(2nd ed) . New Jersey: Prentice-Hall.Mandzuk, L. L. & McMillan, D. E. (2005). “Concept analysis of quality of life.” Journal of Orthopedic Nursing, 9(1), 12-18.

McKenna, S. P. (1997). “Measuring quality of life in schizophrenia.” European Psychiatry, 12(3), 267 – 274.

Pais-Ribeiro, J. L. (2004). “Quality of life is a primary end-point in clinical settings.” Clinical Nutrition, 23(1), 121-130.

Ripley,RandallB. & Franklin, GraceA. (1982). BureaucracyandPolicyImplementation. Illinois: The Dorsey.

Yung-Jaan, L (2008). “Subjective quality of life measurement in Taipei.” Building and Environment, 43(7), 1205-1215.