การรับรู้ของผู้บริโภคต่อเกณฑ์การตัดสินใจเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือหน้าจอสัมผัส และการแบ่งส่วนตลาดตามการรับรู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้บริโภคต่อเกณฑ์การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือหน้าจอสัมผัสและเพื่อกำหนดส่วนตลาด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคที่เคยซื้อโทรศัพท์มือถือหน้าจอสัมผัสจำนวน 400 คนในเขตกรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจด้วยวิธีตัวประกอบหลักและหมุนแกนแบบมุมฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์ และการวิเคราะห์กลุ่มโดยใช้ K-Mean Cluster Analysis จากการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจพบว่า เกณฑ์การตัดสินใจเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือหน้าจอสัมผัสประกอบด้วยปัจจัย 7 ด้าน คือ ตัวแทนจำหน่าย ประสิทธิภาพการทำงานของสินค้า เงื่อนไขของการชำระเงิน พนักงานขาย ราคาและการส่งเสริมการขาย รูปลักษณ์และชื่อเสียง และการสื่อสาร ส่วนการวิเคราะห์แบบ K-Mean Cluster Analysis พบว่า ผู้บริโภคสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มความเกี่ยวพัน กลุ่มที่เน้นความคุ้มค่า กลุ่มเน้นประสิทธิภาพการทำงานของสินค้า กลุ่มที่เน้นข้อมูล และกลุ่มอ่อนไหวต่อราคา
Article Details
References
สารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2551. สืบค้นวันที่ 15 ตุลาคม 2552 จาก http://service.nso.go.th/nso/ nsopublish/themes/theme_5-1-3.html
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ: ธรรมสาร.
ณัฐจิตต์ บูราณทวีคูณ. (2552). Touch for change. สืบค้นวันที่ 15 ตุลาคม 2552 จาก http://www.marketteermag.com/search.aspx
ทัชโฟนโตพรวด 300 % ค่ายมือถือเปิดศึกถล่มราคา. (2553). ประชาชาติธุรกิจ.
สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2553 จาก http://www.th2.net/forum/index.php?action=printpage;topic=684.0
พีรพงศ์ สุทธิโพธิ์ทอง. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ของพนักงาน บมจ. ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด: ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัฐกร การขยัน. (2547). พฤติกรรมและปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่อง โทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.