ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสาน เรื่องจันทะหมุดที่มีต่อสังคมไทยอีสาน

Main Article Content

พระสายแวว วุฑฺฒิธมฺโม

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เป็นเรื่องศึกษาวิเคราะห์คุณค่าหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสานเรื่องจันทะหมุด ที่มีต่อสังคมไทยอีสานนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาวรรณกรรมอีสาน เรื่องจันทะหมุด ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในวรรณกรรมอีสาน เรื่องจันทะหมุด ๓) เพื่อศึกษาคุณค่าหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสาน เรื่องจันทะหมุดที่มีต่อสังคมไทยอีสาน เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร(Documentary Research) และการสัมภาษณ์ภาคสนาม (interview) ผลจากการศึกษาพบว่า


  วรรณกรรมอีสาน เรื่องจันทะหมุดนั้นพบว่าเป็นวรรณกรรมร่วมสมัยของวรรณกรรมไทยลาว มีแพร่หลายทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน มีลักษณะคำประพันธ์เป็นวรรณกรรมประเภทโคลงสาร โดยมีจุดมุ่งหมายในการแต่งเพื่อความบันเทิงและเพื่อมุ่งสอนหลักพุทธธรรมในการดำเนินชีวิต


  จากการศึกษาหลักพุทธธรรมในวรรณกรรมอีสาน เรื่องจันทะหมุด พบว่ามีหลักพุทธธรรมที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรม ดังนี้  ๑) หลักพุทธธรรมว่าโทษของตัณหา ๒) หลักพุทธธรรมว่าด้วยความผลัดพราก ๓) หลักพุทธธรรมว่าด้วยผู้ประพฤติธรรม ๔) หลักพุทธธรรมว่าด้วยโลกธรรม ๕) หลักพุทธธรรมว่าด้วยกตัญญูกตเวที ๖) หลักพุทธธรรมว่าด้วยความอดทน


เมื่อวิเคราะห์คุณค่าของหลักพุทธธรรมในวรรณกรรมอีสาน เรื่องจันทะหมุดที่มีต่อสังคมไทยอีสานพบว่าสามารถจำแนกออกได้เป็น ๕ ด้าน คือ ๑) คุณค่าด้านการดำเนินชีวิต ๒) คุณค่าด้านสังคม ๓) คุณค่าด้านการเมืองการปกครอง ๔) คุณค่าด้านคติความเชื่อ ๕) คุณค่าด้านวรรณกรรม แสดงออกได้ถึงภูมิธรรม ภูมิปัญญา ภูมิความรู้ในเชิงภาษาและการแต่งวรรณกรรมที่ล้ำลึกได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีอิทธิพลต่อสังคมไทยอีสาน ตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ใน ๔ ด้าน คือ ๑) คุณค่าด้านการดำเนินชีวิต ๒) คุณค่าด้านสังคม ๓) คุณค่าด้านการเมืองการปกครอง ๔) คุณค่าด้านคติความเชื่อ

Article Details

บท
Research Articles

References

จารุบุตร เรืองสุวรรณ.ของดีอีสาน .กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, ๒๕๒๐.
ธวัช ปุณโณทก. วรรณกรรมอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๔๗.
. วิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นเชิงเปรียบเทียบ.พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕
พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ).ธรรมปริทรรศน์.กรุงเทพมหานคร : มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระ
บรมราชูปถัมภ์,๒๕๔๔.