ศึกษาวิเคราะห์การดําเนินชีวิตตามหลักภาวนา 4 ในพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระกองสี พรมโพธิ์

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาหลักภาวนา 4 (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การดําเนิน ชีวิตตามหลักภาวนา 4 ในพระพุทธศาสนา ผลจากการวิจัยพบว่า การดําเนินชีวิตตามหลักภาวนา 4 ในพระพุทธศาสนา พบว่า การ ดําเนินชีวิตในขั้นของ (1) กายภาวนา คือ การพัฒนาอินทรีย์ ที่ต้องติดต่อกับสิ่งภายนอกอย่างชานฉลาด ไม่เป็นทุกข์เพราะการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น (2) ศีลภาวนา คือกระบวนการติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอก อย่างฉานฉลาดและรู้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก และสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และสังคม(3) จิตภาวนา ก็คือการมีจิตใจที่พัฒนาให้เข้มแข็ง ไม่ขุ่นมัว มีคุณธรรม มีปัญญาที่ได้จากการฝึกจิต ภาวนา ได้แก่ มีเมตตา กรุณา มุทิตา มีศรัทธา และมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่, การมีความพร้อมในการทํางาน ได้แก่ ขันติคือมีความอดทน สมาธิคือความมีใจตั้งมั่น อธิษฐานคือมีความเด็ดเดี่ยว วิริยะคือมีความเพียร สติคือ มีความระลึกรู้เท่าทันสิ่งรอบข้างที่กําลังเกิดขึ้นในขณะนั้นๆ (4) ปัญญาภาวนา ได้แก่การรับรู้และเข้าใจต่อสิ่ง ต่างๆ ตามความเป็นจริง รู้เท่าทันสภาวะความเปลี่ยนแปลงของโลกและชีวิต

Article Details

บท
Research Articles

References

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต) ตัดทอน จากหนังสือเรื่อง “รุ่งอรุณของการศึกษา เบิกฟ้าแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน” มปพ. พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต) ธรรมนูญชีวิต ,.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บรษิัท สหธรรมิก จํากัด,2548.

อัตถะ คือจุดหมายของชีวิต 3 ขั้น ธรรมนูญชีวิต พิมพครั้งที่ 36 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จํากัด, 2548. พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต) ตัดทอน จากหนังสือเรื่อง “รุ่งอรุณของการศึกษา เบิกฟ้าแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน” มปพ. *พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พุทธธรรม,โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), ธรรมนูญชีวิต,พิมพ์ครั้งที่ 15, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จํากัด, 2552.

พระธรรมธีรราชมหามนุี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.9) ทาง 7 สาย, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บรษิัท สหธรรมิก จํากัด, 2549.

พระเทพวิสุทธิกวี (พุทธทาสภิกขุ) ธรรมะสําหรับครู, กรุงเทพมหานคร : สํานักงานประถมศึกษาแห่งชาติ, 2529 .

พระไพศาล วิสาโล, พุทธศาสนากับคุณค่าต่อชีวิต, กรุงเทพมหานคร : บริษัทธรรมสาร จํากัด, 2530. มนูญ