การเมืองเรื่องผ้หูญิงในวรรณกรรมคําสอนสํานวนลาวและอีสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการเมืองในมิติความสัมพันธ์เชิงอํานาจและการต่อสู้ต่อรองของผู้หญิง โดยใช่ตัวบทประเภทวรรณกรรมคําสอนสํานวนลาวและอีสานที่นําเสนอเนื้อหาว่าด้วยการสอนผู้หญิงทั้งโดย ทางตรงและทางอ้อม ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมคําสอนในฐานะวาทกรรมความรู้คือความรุนแรงเชิง สัญลักษณ์ที่ทําให้คนในสังคมยอมรับปฏิบัติตามโดยทําให้กฎเกณฑ์เหล่านั้นดูเป็นเรื่องธรรมชาติ ตัวบทส่วน ใหญ่ถูกประกอบสร้างขึ้นผ่านการเขียนของผู้ชายในระบอบประชาธิปไตย ภาพแทนของผู้หญิงจึงเป็นไปตาม จินตนาการที่ผู้ชายชั้นสูงที่มีอํานาจต้องการให้เป็นคือ การสร้างผู้หญิงแบบอุดมคติในรูปแบบของการเมือง เรื่องเรือนร่าง การสร้างจริตผู้หญิงแบบฉบับ รวมทั้งการเบียดขับผู้หญิงให้เป็นอื่น อย่างไรก็ตามใน วรรณกรรมปรากฏการต่อสู้และต่อรองของผู้หญิงเพื่อช่วงชิงความหมายเรื่องเพศในมิติที่หลากหลาย ได้แก่ ผู้หญิงอยู่ในฐานะผู้ผลิตสาร และการแสดงออกซึ่งเสรีภาพเรื่องเพศที่นอกกรอบทางสังคม อันเป็นสิ่งที่แสดง ให้เห็นถึงความเป็นพหุลักษณ์ทางเพศ ความเป็นหญิงจึงถูกสร้างผ่านความสัมพันธ์เชิงการเมืองและอํานาจ ระหว่างคนกลุ่มต่างๆในสังคม
Article Details
References
ธเนศ วงศ์ยานนาวา. เขียนหญิง: อํานาจ โยนี และการเขียนของลึงค์. กรุงเทพมหานคร: UnfinishedProject Publishing, 2556. ธวัช ปุณโณทก. วรรณกรรมภาคอีสาน. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2537.
นภาพร พิมพ์วรเมธากุล. วรรณกรรมคําสอนจากคัมภีร์ใบลานอีสานเรื่อง อินทิยานสอนลูก. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ําโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2548.
ปรีชา พิณทอง. ย่าสอนหลาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท, 2534. พิทูร มะลิวัลย์. พื้นขุนบรมราชาธิราช กฎหมายธรรมศาสตร์ขุนบูรมปุและศกไทยโบราณ. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2530.
พรชัย ศรีสารคาม. วรรณกรรมอีสานเรื่องท้าวคําสอน. มหาสารคาม: โครงการปริวรรตและพิมพ์ เอกสารโบราณ ศูนย์วัฒนธรรมจังวัดมหาสารคาม วิทยาลัยครูมหาสารคาม, 2527.
มูลนิธิส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมชนบท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กาพย์ปู่สอนหลานและหลาน สอนปู่. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมชนบท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ม.ป.พ. สุภางค์