การศึกษาการบริหารการศึกษาโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานี : กรณีศึกษา การบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนการกุศล และการศึกษาสงเคราะห์

Main Article Content

เอกชัย ศรีบุรินทร์
ไชยสิทธิ์ อุดมโชค นามอ่อน
บดินทร์ภัทร์ สายบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การศึกษาการบริหารการศึกษาโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานี กรณีศึกษา :การบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนการกุศลและการศึกษาสงเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนการกุศลในจังหวัดอุบลราชธานีและปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการศึกษาโรงเรียนเอกชนการกุศลในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า


          การศึกษาการบริหารการศึกษาโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานี :กรณีศึกษา การบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนการกุศลและการศึกษาสงเคราะห์ในระยะแรกๆได้รับการอุดหนุนเหมือนโรงเรียนเอกชนโดยทั่วไป โรงเรียนเอกชนต้องลงทุนจัดการศึกษาด้วยตนเองทั้งหมด แม้รัฐจะช่วยเหลือด้านเงินอุดหนุนก็ตามไม่เพียงพอต่อการบริหาร จึงส่งผลให้ประสบปัญหาในระหว่างการดำเนินงาน ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนจากผู้ปกครองนักเรียนได้ เพราะสาเหตุมาจากผู้ปกครองนักเรียนร้อยละ 95 มีฐานะยาก จนจึงส่งผลให้โรงเรียนบางแห่งเลิกกิจการไป ผู้บริหารโรงเรียนจึงต้องมีความรอบคอบในการบริหารจัดการโรงเรียน จึงเป็นภาระหนักของแต่ละโรงเรียนที่ต้องแบกภาระในด้านการงบประมาณ การสร้างและการพัฒนาเครือข่ายทางการศึกษาของโรงเรียนการกุศลเป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้การศึกษาของโรงเรียนการกุศลมีบทบาทต่อสังคมในแง่ของการศึกษามากขึ้น การมีเครือข่ายช่วยเหลือส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เทคนิควิธีการสอน การใช้สื่อประกอบการสอนที่ทันสมัย ทำให้มีศักยภาพสูงขึ้น การช่วยให้เยาวชนมีความรู้คือการติดอาวุธทางปัญญาให้กับสังคม

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมการศาสนา. สืบค้นวันที่ 15 มีนาคม 2553 : www.khondee/net/home/i
คณะผู้วิจัยสวนดุสิตโพล. (2544). บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานการวิจัยสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
คำหมาน คนไค (นามแฝง). (2544). 199 กระบวนท่าของครูมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร : สายธาร.
จรูญศรี มาดิลกโกวิทย์,รศ.ดร. และคณะ. (2550). การจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย.กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชโยทิต น้ำดอกไม้. (2556). การบริหารงานปกครองนักเรียนของโรงเรียนเมตตาศึกษาในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมารี จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชัยพร วิชชาวุธ และ ธีระพร อุวรรณโณ. (2534). แนวคิดและพัฒนาการใหม่ในการปลูกฝังจริยธรรมในความรู้คู่คุณธรรม.กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชำนาญ นิศารัตน์. (2523).การนำวิธีสอนในสมัยพุทธกาลมาใช้สอนจริยศึกษาในระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทฤษฎีการเรียนรู้. สืบค้นวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 : https://www.mindmeister.com
ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่ (Gagne). สืบค้นวันที่ 24 พฤษภาคม 2561. https://th.wikipedia.org
ทฤษฎีของบลูม (Bloom's Taxonomy). สืบค้นวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 : https://th.wikipedia.org
ทฤษฎีของเมเยอร์ (Mayor). สืบค้นวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 : https://th.wikipedia.org
ธานินทร์ กรัยวิเชียร.(2550). คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน.
ธีรศักดิ์ อัครบวร.(2544). ความเป็นครูไทย. กรุงเทพมหานคร : ก.พลพิมพ์ (1996) จำกัด.
ปภัสสร ไพบูลย์ฐิติพรชัย.(2553). ศึกษาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโรงเรียนพณิชยการบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประภาศรี สีหอำไพ. (2531). พื้นฐานการศึกษาและจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร : โครงการตำราและเอกสารทางวิชาการ.