แนวทางส่งเสริมการสร้างความสุขตามหลักคิหิสุขของหมู่บ้านสีชวา ตำบลไผทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
แนวทางส่งเสริมการสร้างความสุขตามหลักคิหิสุขของหมู่บ้านสีชวาตำบลไผทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) มุ่งศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแนวทางส่งเสริมการสร้างความสุขตามหลักคิหิสุขของหมู่บ้านสีชวา ตำบลไผทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ผลการวิจัยพบว่า
คิหิสุขนี้เป็นเครื่องชี้วัดความสุขของผู้ครองเรือนได้เป็นอย่างดี เพราะการดำเนินชีวิตในสามข้อแรกเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องเศรษฐกิจดี มีที่มาจากพระสูตรว่าด้วยการใช้สอยบริโภค คือ คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามีบ่อเกิดของการบริโภครวมถึงสิ่งเสพบริโภคใช้สอยปรากฎชัดครั้งแรกในอัคคัญญสูตร ซึ่งในพระสูตรดังกล่าวแสดงให้เห็นการเกิดขึ้นของจักรวาล โลกมนุษย์และสรรพสิ่ง ตลอดถึงแสดงให้เห็นวิวัฒนาการของการบริโภคใช้สอยอารยธรรมวัฒนธรรมวิถีชีวิต การแบ่งชนชั้นทางสังคม การเมืองการปกครอง รวมถึงวิกฤตปัญหาต่างๆทางสังคมหรือกล่าวให้สั้นก็คือ วิวัฒนาการ (Revolution) ของโลกทั้งด้านเจริญและด้านเสื่อมหรือด้านเกิดดับสลับหมุนเวียนไปตามเหตุและปัจจัย พระพุทธศาสนามองว่า บรรดาความสุข ทั้ง 4 นี้ อนวัชช สุขมีค่ามากที่สุด เพราะจะทำให้ชีวิตในการครองเรือนประสบความสำเร็จและเป็นแบบอย่างที่ดีมีสติสัมปชัญญะในการจ่ายทรัพย์ที่หามาได้ โดยพิจารณาถึงคุณและโทษให้มีอิสระหลุดพ้นเป็นนายเหนือโภคทรัพย์หรือกล่าวในแง่หนึ่งนั้น เมื่อมีอนวัชชสุขแล้วสุขทั้ง 3 จะตามมา คือความสุขของคฤหัสถ์ทั้ง 4 ประการ ได้แก่ (1) สุขมีทรัพย์ไว้ (2) สุขได้ใช้ทรัพย์ที่มี (3) สุขเพราะหนี้หมด (4) สุขหมดจดเพราะหน้าที่การงานดีงาม
Article Details
References
ดุษฎี สีตลวรางค์. การศึกษาในสังคมพระพุทธศาสนาตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๒.
นงเยาว์ หนูไชยะ ณ กาฬสินธุ์. “ศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดเรื่องมิจฉาทิฏฐิในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย, ๒๕๔๔.
นนทนา อังสุวรังสี. “การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่านิยมและการปฏิบัติเกี่ยวกับเบญจศีลของชาวพุทธในสังคมเมืองและชนบทที่อยู่ในและนอกโครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง โดยศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านในอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๓๓.
นันทวรรณ แดงน้อย. “ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการบริโภคมาใช้ในสังคมไทย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒.
บรรจง วังหล้า. “การศึกษาเปรียบเทียบโทษของการละเมิดศีลห้ากับการกระทำผิดกฎหมายอาญา”. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘.
บริบูรณ์ ศรัทธา. “การศึกษาหลักธรรมในการดำเนินชีวิตของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์”. วิทยานิพนธ์พุทธ ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔.
บุญตัน หล้ากอง. “แนวคิดเรื่องการพัฒนาชุมชนในพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๓๒.
บุญมี แท่นแก้ว. จริยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๙.
ประเวศ วะสี. ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจ สังคม และศีลธรรม. กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน, ๒๕๔๕.
ปรัชญา เวสารัชช์. “การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท”. รายงานการวิจัย.กรุงเทพมหานคร: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๘.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด, ๒๕๓๖.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). การพัฒนาที่ยั่งยืน.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๓๙.
_________ .จริยธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๔๓.
_________ . ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมจำกัด, ๒๕๓๗.
_________ .ทศวรรษธรรมทัศน์พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) หมวดพุทธศาสตร์.กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, ๒๕๔๒.
พระพรมหคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๓๑.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ในเครือบริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม, ๒๕๕๘.
พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ (วันยาว). “ความรู้จักพอประมาณในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงในพระราชดาริ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗.
พระมหาสมชาย สิริจนฺโท (หานนท์). “พุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางของพระเทพวรคุณ (สมาน สุเมโธ)”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗.
ไพรัช สู่แสนสุข. หลักการและกระบวนการของการเรียนรู้และการสอนตามหลักพุทธศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
สมบูรณ์ สุขสำราญ. พุทธศาสนากับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๗.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. การประยุกต์หลักพุทธธรรมมาใช้ในการพัฒนาชนบท. พิมพ์ครั้งที่ ๒.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๙.
อาภรณ์ พุกกะมานและคนอื่น ๆ. “การศึกษาการสอนศีลเพื่อสร้างเสริมพุทธธรรมจริยธรรมในสังคมไทย”. รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เจริญผล, ๒๕๓๘.