การส่งเสริมการส่งออกสินค้าของเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว วันไชย จันทะลาด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการส่งออกสินค้าเกษตร เมืองปากซอง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และศึกษาแนวทางการส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตร เมืองปากซอง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตร จำนวน 181 คน และผู้ประกอบการส่งออกสินค้าเกษตร จำนวน 15 คน รวมเป็น 196 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการส่งออกสินค้าเกษตรของเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยรวมสภาพการส่งออกอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านคุณภาพ รองลงมา คือ ด้านราคา ด้านการขนส่ง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กระบวนการ แนวทางการส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตร เมืองปากซอง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้านราคา ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้กับผู้ประกอบการและผู้ที่มาติดต่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตและพัฒนาตลาดส่งออกสินค้าเกษตร ด้านกระบวนการ ควรมีการอำนวยความสะดวกในการจองคิวในการขนส่งสินค้า และจัดลำดับคิวการมาติดต่อก่อนหลัง ปรับปรุงความชัดเจนและเป็นเรื่องเดียวกันของกฎหมายกับการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยตรง ด้านการขนส่ง ควรมีการปรับพื้นฐานในการจัดการขนส่งสินค้าเกษตรอย่างมีระบบที่ชัดเจนมีความเข้าใจง่ายและไม่ซับซ้อน สามารถปฏิบัติได้จริง จัดวางเป้าหมายในการพัฒนาผู้ประกอบการและเกษตรกรเพื่อความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน ด้านคุณภาพ ควรมีการประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูกสินค้าเกษตรเพื่อผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสมแก่การส่งออกเป็นการลดปัญหาสินค้าคุณภาพต่ำและสินค้นล้นตลาด เพิ่มผลผลิตให้สามารถแข่งขันสินค้าทางการเกษตร
Article Details
References
พื้นที่จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จุฑาลักษณ์ ขันทะชา. (2551). แนวทางพัฒนาการส่งออกสินค้า ผ่านเขตชายแดนไทย-ลาว ใน
พื้นที่จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เฉลิมศักดิ์ วงศ์อุคะ. (2551). อิทธิพลของการรับรู้เกี่ยวกับการส่งออกและทัศนคติเกี่ยวกับ
เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ต่อพฤติกรรมการส่งออกของผู้ประกอบ
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธเนศ วัฒนกูล. (2559).“ปัจจัยทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนโดย
ตรงจากประเทศไทยไปสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,”วารสารนานาชาติ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.ปีที่ 6 ฉบับที่ 2.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่7.
กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ศรัณย์ อมาตยกุล. (2554). ทัศนคติของผู้บริโภคชาวลาวต่อแหล่งที่มาของสินค้าอุปโภคบริโภค.
การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ, สานักงาน. (2555). กฎระเบียบทางการค้า ระเบียบการนาเข้า
และส่งออกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. เวียงจันทน์: สานักงาน
ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ.
ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, กรม. (2560). สถานการณ์การค้า (การนาเข้า/ส่งออก).
นนทบุรี: สานักพัฒนาตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชีย.
สุภัทรา พลายระหาญ. (2556). การส่งออกของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.
วารสารการตลาดและการสื่อสาร. ปีที่ 1 ฉบับที่ 3.