แนวทางการพัฒนาบุคลากรแผนกกสิกรรมและป่าไม้ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

โพไซ สุวันนะพาสี
วินัย จำปาอ่อน
รัตนะ ปัญญาภา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาบุคลากรของแผนกกสิกรรมและป่าไม้ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาบุคลากรของแผนกกสิกรรมและป่าไม้ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ บุคลากรแผนกกสิกรรมและป่าไม้แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 242 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา      ผลการวิจัยพบว่า สภาพการพัฒนาบุคลากรของแผนกกสิกรรมและป่าไม้ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า โดยภาพรวม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ด้านการส่งบุคลากรไปศึกษา ฝึกอบรม หรือดูงาน มีส่วนร่วมในการจัดโครงการศึกษาและการดูงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ด้านการพัฒนาทีมงานหรือการพัฒนาองค์กรสามารถถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานหรือแนะนำทักษะการทำงานให้แก่บุคลากรในองค์กรได้พัฒนาความรู้ ความชำนาญในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ด้านการฝึกอบรม มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่สอดคล้องกับภาระงานในองค์กร ด้านการพัฒนาบุคลากรมีโอกาสเข้าร่วมประชุมหารือการวางแผนการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กร และด้านการพัฒนาด้วยตนเอง สนใจและติดตามวิทยากรใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่องานของตนในอนาคตอยู่เสมอ แนวทางการพัฒนาบุคลากรของแผนกกสิกรรมและป่าไม้ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า ด้านการฝึกอบรม ควรมีการจัดทำแผนงานเกี่ยวกับโครงการฝึกอบรมบุคลากรให้เป็นไปตามความ ต้องการของสายงาน ด้านการส่งบุคลากรไปศึกษา ฝึกอบรมหรือดูงาน ควรมีการจัดทำแผนงานเกี่ยวกับโครงการส่งบุคลากรไปศึกษา ฝึกอบรมหรือศึกษาดูงานให้สอดคล้องกับภาระงานและเป็นไปตามความต้องการของบุคลากร ด้านพัฒนาบุคลากร ควรสนับสนุนให้บุคลากรได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการหรือสัมมนากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องกระบวนการวางแผนการปฏิบัติงาน โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาด้วยตนเอง ควรเปิดโอกาสให้บุคลากรได้ถ่ายทอดความรู้ ให้คำปรึกษาหรือสอนงาน และด้านพัฒนาทีมงานหรือพัฒนาองค์การ นโยบายผู้บริหารเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร ควรมีความชัดเจนและให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรอย่างจริงจัง

Article Details

บท
Research Articles

References

ดวงจิตร พิรักษา.(2554) การพัฒนาบุคลากรของเทศบาลตาบลลาปลายมาศ อาเภอลาปลาย
มาศ จังหวัดบุรีรัมย์. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
ปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2550) ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: วิทยาออฟเซ็ทการพิมพ์.
นายกรัฐมนตรี, สานัก. (2546), ดารัสของนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน
ลาว ฉบับเลขที่ 82/นย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว. ลงวันที่ 19 พฤษภาคม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554),การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปนัดดา สมบูรณ์สวัสดี. (2559), การพัฒนาบุคลากรกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็น
แบบอย่างที่ดีของสานักงานสีเขียวอย่างยั่งยืน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ มหาวิทยาลัยบูรพา.
เพ็ญแข แต่งจันทร์.(2557), แนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารงานบุคคล ของ
ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสานักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.).กรุงเทพฯ: สานักงาน
ปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.
ศิรินทิพย์ อุดบุญ. (2557), แนวทางการพัฒนาบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอาเภอ ตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานี, 2557.
สนั่น มีสัตย์ธรรม. (2540), การพัฒนาบุคลากร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สุวเพ็ญ คาตุ้ย. (255), แนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยพะเยา. การ
ค้นคว้าอิสระการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยพะเยา.
เอื้ออารีย์ จิตมั่น. (2554), ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารองค์กรกับการพัฒนาบุคลากรของ
เทศบาลตาบลในจังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
การบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.