พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา

Main Article Content

พระวีระพงษ์ วิสุทฺโธ (โคษา)
พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา จากการศึกษา พบว่า แนวคิดเรื่องพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ในพระพุทธศาสนามีพื้นฐานการเรียนรู้ตามหลักศีล สมาธิ และปัญญา สามารถพัฒนาตนเองจากสามัญชนจนเข้าถึงขั้นสูงสุดได้ การเรียนรู้เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ เชื่อมต่อ และมีอิทธิพลถึงกันอย่างเป็นระบบ ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ เป็นต้น โดยที่มนุษย์รับรู้โลกภายนอกผ่านประสาทสัมผัส การรับรู้แต่ละอย่างจะมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) ปัจจัยภายนอก คือ ปรโตโฆสะ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ (2) ปัจจัยภายใน คือ โยนิโสมนสิการ เป็นแหล่งประมวลผลเรียนรู้จากปัจจัยภายนอกเข้าสู่ปัจจัยภายใน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา สิ่งนี้นำไปสู่การพัฒนาอบรมตนเองให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา สามารถนำผลการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและบุคคลในสังคมให้มีศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม

Article Details

บท
Articles
Author Biography

พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahaculalongkornrajavidyalaya University

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

_______. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2536). พระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหธรรมิก จํากัด.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2544). “กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคนสู่ประชาธิปไตย”. ในสาระ ความรู้ที่ได้จากการสัมมนาทางวิชาการเพื่อนำเสนอผลการวิจัย/ผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา.

_______. (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย.

_______. (2548). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหธรรมิก จํากัด.