แนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

เกรียง พลรัฐธนาสิทธิ์

บทคัดย่อ

จากสถานการณ์โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยแรงงานต่างด้าว ซึ่งพบว่ามีแรงงานต่างด้าวที่ลงทะเบียนถูกต้อง 2.3 แสนคน แต่คาดประมาณว่ามีทั้งถูกและผิดกฎหมายประมาณ 4.5 แสนคน เนื่องจากการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้แต่ละจังหวัดต้องปิดจังหวัด เช่น จังหวัดสมุทรสาคร และกลายเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดอย่างเข้มงวดมีผลอย่างสูงต่ออุตสาหกรรมส่งออกอาหารทะเลแปรรูปทั้งประเทศ นอกจากนี้การกักกัน และตรวจสอบเชิงรุกในคนต่างด้าวจำนวนมาก ทำให้งบประมาณที่มีจำกัดต้องใช้ในการควบคุมการระบาด ไม่สามารถนำมาฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ ซึ่งน่าจะมีผลต่อการฟื้นตัวในภาพรวมเพราะยังมีแรงงานต่างด้าว เพราะยังมีแรงงานต่างด้าวซึ่งพำนักในที่ที่ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานไม่ได้มาตรฐานอีกมาก เช่น กรุงเทพมหานคร 7.2 แสนคน นครปฐม 2.1 แสนคน ปทุมธานีและนนทบุรี จังหวัดละ 1.6 แสนคน สมุทรปราการ 1.5 แสนคน ชลบุรี 1.3 แสนคน สุราษฎร์ธานี 1.04 แสนคน เชียงใหม่ 9.6 หมื่นคน ภูเก็ต 5.6 หมื่นคน และที่กระจายในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ (กรมควบคุมโรคระหว่างประเทศ,2564) โดยเฉพาะแรงงานพม่ามีความเสี่ยงที่จะนำเชื้อกลับ เข้ามาได้สม่ำเสมอ ตราบเท่าที่สถานการณ์การระบาดในสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่ายังไม่ดีขึ้น จึงมีความเสี่ยงที่จะมีการะบาดในประเทศไทยได้อีกหลายระลอก และส่งผลกระทบกับฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศทำให้การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติของประเทศไทยได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ทำให้ต้องมีแนวทางในการปรับเปลี่ยน การบริหารจัดการให้เหมาะสมตามสถานการณ์ เช่น ระเบียบ นโยบาย หรือมาตรการใดๆ อย่างทันท่วงที เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน สร้างความปลอดภัยด้านสุขภาพและชีวิตภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019   

Article Details

บท
Articles

References

กรมควบคุมโรคระหว่างประเทศ. (2564). สถานการณ์โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53354.

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2561). การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว. สืบค้นจาก https://www.labour.go.th.

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). คลิก 7 ขั้นตอนแนวทางนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานในไทย.

สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/971035.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2564). จำนวนแรงงานต่างด้าวในราชอาณาจักรไทยก่อน-หลังการระบาดของโรค โควิด–19. สืบค้นจาก https://www.doe.go.th.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2564). สืบค้นจาก https://www.doe.go.th/alien.

มติชนออนไลน์. (2564). การแก้ไขปัญหาและแนวทางแก้ไขแรงงานต่างด้าวในวิกฤตโควิด.

สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/.

ยงยุทธ แฉล้มวงษ์. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final report) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลตลาดแรงงานและการจัดทำแผนกำลัง. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

Migrant Working Group (MWG). (2564). เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ...สถานการณ์แรงงานข้ามชาติและการข้ามพรมแดนในช่วงการระบาดของโควิด-19 พฤศจิกายน 2564. https://www.mwgthailand.org/th/publication