ศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในปุณโณวาทสูตร

Main Article Content

พระมหาวีระชาติ ธีรสฺทฺโธ (เพ็งแจ่ม)
ปรียาภรณ์ ฤทธาพรม
พระครูสมุห์เฉวียน กตปุญฺโญ (ทิมวัน)
พระมหาวิทวัส ประเสริฐ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) ศึกษาความเป็นมาในปุณโณวาทสูตร 2) ศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในปุณโณวาทสูตร พบว่า ปุณโณวาทสูตรเป็นพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่พระปุณณะที่วัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี โดยมีใจความว่า ผู้เพลิดเพลินอายตนะภายนอก 6 ที่พึงรู้แจ้งอายตนะภายใน 6 ย่อมเกิดทุกข์ ผู้ไม่เพลิดเพลินจึงไม่เกิดทุกข์ การสำรวมอายตนะภายนอกคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่เป็นน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รักใคร่ทำใจให้เกิดกำหนัด ถ้ายังมีผู้ใดยังเพลิดเพลินยึดติดอยู่ในอายตนะทั้ง 6 แล้วใจย่อมเกิดทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินในอายตนะทั้ง 6 นั้น ย่อมไม่เกิดทุกข์

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

ปรียาภรณ์ ฤทธาพรม , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระครูสมุห์เฉวียน กตปุญฺโญ (ทิมวัน) , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระมหาวิทวัส ประเสริฐ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

พร รัตนสุวรรณ. (2545). คู่มือการฝึกอานาปานัสสติสมาธิ การฝึกสมาธิด้วยการกำหนดลมหายใจ

เข้า – ออก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2552), ปฏิจจสมุปบาท เหตุผลแห่งวัฏสงสาร. แปลรียบเรียง

โดย พระคันธสาราภิวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 35. กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539), พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย