บทบาทสตรีในพุทธศาสนาเถรวาทสมัยพุทธกาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันความเท่าเทียมกันระหว่างสตรีกับบุรุษ และสิทธิเสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ปรากฏในอารยประเทศทั่วโลก มีการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญไทยมาตรา 27 ความว่า“บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายโดยชายและหญิงมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน”และมาตรการที่รัฐก าหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นหรือเพื่อคุ้มครองให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการหรือผู้ด้อยโอกาสโดยไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ” จึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ เช่น การให้สิทธิสตรีในการเลือกตั้ง และสิทธิเสรีภาพอื่นๆ อย่างกว้างขวาง โดยได้มีองค์กรในระดับนานาชาติ อาทิสหประชาชาติ ได้จัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ เมื่อ พ.ศ.2522 โดยอนุสัญญาฉบับนี้ มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองสิทธิสตรีให้มีสิทธิเท่าเทียมกับบุรุษ ดังนั้นในบทบาทสตรีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิมเท่าไร โดยเฉพาะบทบาทความเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในหลายๆ มิติของบุคคลต่างๆ อย่างมากมาย ซึ่งจะได้นำเสนอบทบาทสตรีในพระพุทธศาสนาเถรวาทสมัยพุทธกาล ได้แก่ สตรีกับพุทธศาสนาเถรวาท บทบาทสตรีในพระพุทธศาสนาเถรวาท บทบาทของความเป็นพุทธมามกะ มารดาบทบาทความเป็นภรรยา บทบาทความเป็นพุทธ บทบาทคุณธรรมที่ถือเป็นแบบอย่าง และบทบาทประกาศพระพุทธศาสนา
Article Details
References
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, (2525). มูลนิธิ. พระไตรปิฎกภาษาไทย. เล่มที่ 15, 20, 33
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย,
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาตร เล่มที่ 20 ข้อที่ 735 - 752. หน้าที่ 32 - 33.
โครงการสัมมนาทางวิชการ,“วุฒิสภา : สิทธิสตรีไทยในโลกปัจจุบัน”,21 กันยายน 2553
โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร.
โครงการสัมมนาทางวิชการ. “วุฒิสภา : สิทธิสตรีไทยในโลกปัจจุบัน”. 21 กันยายน 2553 ที่
โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร.
ธรรมธารา วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 7) พ.ศ. 2561
พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ (สมาน กลฺยาณธมฺโม), เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 3,
กรุงเทพฯ : สหธรรมิก,
พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ (สมาน กลฺยาณธมฺโม). (2544). เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่
กรุงเทพฯ : สหธรรมิก,
มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา. (2551). ประวัติความเป็นมาของพระอภิธรรม” ในธรรมะเพื่อชีวิต. ฉบับวัน
ขึ้นปีใหม่ 2551, กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา วัดบูรณศิริมาตยาราม.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 6 เมษายน 2560.
พระมหากมล ถาวโร (มั่งคำมี), (2543), “สถานภาพสตรีในพระพุทธศาสนา”, บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2543.
ประคอง สิงหนาทนิติรักษ์. (2546 “บทบาทของแม่ชีไทยในการพัฒนาสังคม”. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,