แนวทางในการเจริญวิปัสสนาภาวนาในสัมมาทิฏฐิสูตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการศึกษาศึกษาแนวทางในการเจริญวิปัสสนาภาวนาในสัมมาทิฏฐิสูตรมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ ศึกษาความเป็นมาในสัมมาทิฏฐิสูตร 2) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการเจริญวิปัสสนาภาวนาในสัมมาทิฏฐิสูตร พบว่าสัมมาทิฏฐิสูตร เป็นพระสูตรที่ปรากฏในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ว่าด้วย เรื่องความเห็นชอบ เป็นชื่อของปัญญามีลักษณะที่รู้แจ้งตามความเป็นจริงอย่างแจ่มแจ้ง ไม่หลงใหลไปตามอารมณ์ที่กระทบในทางทวาร 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ มีความใส่ใจอย่างดีแยบคายต่อการกระทบนั้นเป็นเหตุใกล้โดยในพระสูตร แสดงถึงหลักธรรมเน้นความสำคัญที่ว่าผู้มีสัมมาทิฏฐิจึงรู้แจ้งชัดในความทุกข์และความดับทุกข์ได้ตามเหตุปัจจัยการเกิดดับ และหลุดพ้นชอบในที่สุด
หลักธรรมในสัมมาทิฏฐิสูตรแสดงการเกิดดับของรูปนามไว้อย่างชัดเจน ในการปฏิบัตินั้นเป็นการกระทำด้วย การใช้สติระลึกรู้อารมณ์ที่มากระทบแล้วดับสลายไปในขณะปัจจุบันตรงนั้นเหมือนกันทุกทวาร เช่น เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหานี้คือสายเกิดทุกข์ และเพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ เป็นต้น นี้คือสายดับทุกข์ ทำให้เกิดปัญญาจนมรรคบริบูรณ์ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น เมื่อละกิเลสได้แล้วและกิเลสที่เหลืออยู่ สามารถรู้แจ้งแทงตลอด บรรลุถึงอริยมรรค อริยผลและนิพพานในที่สุด
Article Details
References
ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมสุนทร). (2537), คู่มือการศึกษา พระอภิธรรมทางอากาศ. ปริเฉทที่
-9. กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จำกัด,
นายแพทย์เชวง เดชะไกศยะ, (2535), สัมมาทิฏฐิ, กรุงเทพฯ: บรรณศิลป์พริ๊นติ๊ง จำกัด.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2555), มหาสติปัฏฐานสูตร. แปลรียบเรียง
โดย พระคันธสาราภิวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539), พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ), (2542), คำถามคำตอบ เรื่องวิปัสสนากรรมฐาน,
พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต), (2554), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้ง
ที่ 17, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.