สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีรูปแบบที่หลากหลายและรูปแบบการจัดการเรียนรู้นั้นมีความสำคัญต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ การเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีความชัดเจนเหมาะสมกับผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ซึ่งการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากวิทยาการที่หลากหลายและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียนมีความไวต่อข้อมูลข่าวสารและการเปลี่ยนแปลง ครูผู้สอนสังคมศึกษาจึงต้องปรับความคิดเปลี่ยนแปลงวิธีการและประเมินการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สนองตอบต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในยุคของการแข่งขันด้านศักยภาพผู้เรียน ดังนั้นบทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในยุคสมัยใหม่ของผู้สอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เชิงลึกและเห็นคุณค่าแท้ของการเรียนรู้ อันได้แก่พฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความคิด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สมรรถนะการจัดการเรียนรู้และวิธีการสอนทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญ เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ดังนี้ 1) การเสริมสร้างทักษะ 4Cs 2) การเสริมสร้างทักษะ C-Teacher และ 3) การบูรณาการพุทธวิธีการสอนกับการสอนสังคมศึกษา
Article Details
References
กนก จันทร์ทอง.(2560). การสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21.วารสารวิทยบริการ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,ปีที่ 28 ฉบับที่ 2
กระทรวงศึกษาธิการ.(2552).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
โชตรัศมิ์ จันทน์สุคนธ์.(2551).วิชาสังคมศึกษา : ศาสตร์แห่งการบูรณาการ.วารสารวิชาการ
ศึกษาศาสตร์, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2551.
เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2555). ก้าวสู่ศตวรรษที่ 21: เส้นชัยที่การศึกษาไทยยังไปไม่ถึง. วารสาร
ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปีที่ 40 ฉบับที่ 1.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง.(2556).การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า : ตอนอนาคตครูไทย ครูพันธุ์ C.
เชียงใหม่ : สถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บรรยวัสถ์ ฝางคำ. (2563).พุทธวิธีการสอน. อุบลราชธานี : วิทยาการพิมพ์.
วัชระ จตุพร. (2561).โรงเรียนทางเลือกกับการจัดการเรียนรู้สําหรับผู้เรียนแห่งศตวรรษาที่ 21.
วารสารศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น,ปีที่ 41 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย. 2561.
วิภาพรรณ พินลา.(2561).การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านความ
รับผิดชอบต่อสังคม. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับ
ภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน 2561.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา,กระทรวงศึกษาธิการ.(2551).ตัวชี้วัดและสาระการ
เรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สํานักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรม
ราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี. (2557).คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่เน้น
ผู้เรียนระดับอุดมศึกษาเป็นสำคัญ. ปทุมธานี : สํานักส่งเสริมวิชาการและงาน
ทะเบียน.
National Education Association (NEA). (2010). Preparing 21st century students
for a global society: An educator’s guide to the “four Cs.” .
http://www.nea.org/assets/docs/A-Guideto-Four-Cs.pdf
Partnership for 21st Century Skills-P21. (2011). Framework for 21st Century
Learning. Online, http://www.p21.org.
Yeager, Elizabeth Anne.(2000). Thoughts on Wise Practice in the Teaching of
Social Studies, Social Education. 646; October, 2000.