การบริหารจัดการแรงงานคนต่างด้าวในประเทศไทย ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

สุรทิน เหล่าศรี

บทคัดย่อ

จากวิกฤตโรคระบาดของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เกิดขึ้นทั่วมุมโลก นับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2562 จนกระทั่งถึงบัดนี้ การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติของประเทศไทยได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการให้เหมาะสมตามสถานการณ์ครั้งนี้ ทั้งต้องปรับเปลี่ยนระเบียบ นโยบาย หรือมาตรการใดๆ อย่างทันท่วงที เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน สร้างความปลอดภัยด้านสุขภาพและชีวิต การระบาด ครั้งนี้ จึงมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก เช่น มาตรการการกำหนดระยะห่าง Social distancing  ทำให้เกิดผลกระทบการทำงาน การปิดการคมนาคม การเคลื่อนย้ายคน การปิดเมือง การจัดการแบบเข้มข้น ทำให้การใช้กฎระเบียบและกฎหมายกระทบกับผู้คนจำนวนมาก แรงงานรายวันได้รับผลกระทบโดยตรง และผลทางด้านสังคมเป็นไปค่อนข้างมาก กระทบวิถีการดำเนินชีวิต การจำกัดสิทธิเสรีภาพในบางเรื่อง รวมถึงปัญหาความเป็นอยู่ที่มาจากเศรษฐกิจ มีคนตกงาน คนหาเช้ากินค่ำ การขาดรายได้ ทำให้ชีวิตยากลำบากมากขึ้น ส่งผลถึงครอบครัว สังคม ประเพณีและวิถีปฏิบัติ เป็นต้น


 


 

Article Details

บท
Articles

References

กฤตยา อาชวนิจกุล และกุลภา วจนสาระ. (2552).รายงานการวิจัยเรื่อง “การจ้างแรงงานข้ามชาติตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวกับการจัดทำบัญชีรายชื่ออาชีพสำหรับคนต่างชาติ” International Organization for Migration. องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน สำนักงานกรุงเทพฯ: ประเทศไทย.

_______(2552). พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551. องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน สำนักงานกรุงเทพฯ: ประเทศไทย.

กรมการจัดหางาน. (2564). ผลกระทบของ Covid-19 ที่มีผลต่อการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย.

สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2564, จาก https://tdri.or.th/2020/08/covid-19-impact-on-migrant-workers/.

_______.(2564). สถิติคงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2564, จาก www.tdri.or.th.

มติชนออนไลน์. (2564). ปัญหา-แนวทางแก้ไข แรงงานต่างด้าวในวิกฤตโควิด. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2564,

จาก https://www.matichon.co.th/covid19/news_2738809.

________. (2564). แรงงานต่างด้าวในวิกฤตโควิด-19. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2564,

จาก https://www.matichon.co.th/covid19/news_2738809.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2564). แรงงาน 3 สัญชาติ เฮ! ศบค. เคาะ นำเข้า MOU ตามกระทรวงแรงงานเสนอ. สืบค้น 17 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.doe.go.th.

สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. สืบค้น 17 พฤศจิกายน 2564, www.nesdb.go.th.

Sciortino and Punpuing. (2009). Marginalization, Morbidity and Mortality: A Case Study of Myanmar Migrants in Ranong Province, Thailand. Estimated that migrants contributed around two billion US.