ศาสนาและสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
หนังสือเรื่อง “ศาสนาและสงคราม”เขียนโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พินิจ รัตนกุล เป็นหนังสือที่มีคุณค่าในทางวิชาการที่จัดพิมพ์จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ธิงค์ บียอนด์ ธรรมะ “เพราะธรรมมะสื่อสารได้หลายทาง” (ธิงค์ บียอนด์ บุ๊ค) จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2555 มีจำนวน 102 หน้า เพื่อเสนอมุมมองให้เห็นว่า “จุดยืนทางศาสนาในเรื่องของสงครามและสันติภาพ ที่ศาสนิกในแต่ละศาสนาจำเป็นต้องศึกษาคำสอนของศาสนาที่ตนนับถืออยู่นั้นให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และถูกต้อง เพื่อจะได้รู้แน่ชัดว่าศาสนาที่ตนนับถืออยู่นั้นมีจุดยืนเกี่ยวกับสงครามอย่างไรและจุดยืนนี้เหมือนหรือแตกต่างจากจุดยืนของศาสนาอื่น ความรู้และเข้าใจเหล่านี้จะช่วยให้ศาสนิกชนวางตัวได้อย่างถูกต้องและไม่ตกเป็นเครื่องมือของผู้นำศาสนา หรือกลุ่มลัทธิการเมือง มาใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อทำในสิ่งที่ไม่ดีหรือขัดแย้งต่อบทคำสอนที่แท้จริงในทางศาสนาก่อให้เกิดลักษณะตรงข้าม โดยผ่านอาศัยศาสนาของตนที่นับถือนี้กระทำ”เนื้อหาการเขียนของหนังสือเรื่อง “ศาสนาและสงคราม” ในภาพรวมมีการใช้ภาษาที่เป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาที่มีศัพท์วิชาการซึ่งอาจเพราะผู้เขียนต้องการให้หนังสือเล่มนี้ไม่มีข้อความที่สลับซับซ้อน จึงเลือกวิธีการเขียนเป็นแบบการพูดคุย ทั้งยังไม่มีการอ้างอิงจากหนังสือต่างๆ ปรากฏอยู่เลยนั่นเอง ในการแบ่งบทสัดส่วนเนื้อหาของหนังสือแบ่งออกเป็น 4 บท ได้แก่ บทที่ 1 ศาสนาพุทธ, บทที่ 2 ศาสนายูดาย, บทที่ 3 ศาสนาคริสต์, บทที่ 4 ศาสนาอิสลาม, และบทที่ 5 หนทางสู่สันติภาพ แต่ละบทกล่าวถึงภาพรวมคำสอนแต่ศาสนาที่สำคัญๆ จนไล่เรียงลำดับประวัติการเผยแผ่ศาสนาในที่ต่างๆ จนมาถึงเรื่องของสงครามที่มีศาสนามีเกี่ยวพันในการทำให้เกิดขึ้นหรือมีส่วนในสงคราม
Article Details
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
พินิจ รัตนกุล. (2555). ศาสนาและสงคราม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธิงค์ บียอนด์ บุ๊ค,
พระครูสมุห์วัยวุฒิ ชิตจิตฺโต (เปียเนตร์). (2559). การประยุกต์หลักเมตตาในพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อจัดการความขัดแย้ง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,