บทบาทของพระสงฆ์ในการฌาปนกิจศพผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโรค COVID-19 ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน
พระครูโกศลวิหารคุณ
จรูญศรี มีหนองหว้า
อรุณศรี ผลเพิ่ม
เชาวลิต ศรีเสริม

บทคัดย่อ

การจัดการงานศพผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 จำนวนมาก มีความยุ่งยากซับซ้อนส่งผลกระทบต่อกิจของพระสงฆ์และภาวะสุขภาพของพระสงฆ์และผู้เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนขั้นตอนการดำเนินการตามสังคมวัฒนธรรมต้องสอดรับกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการฌาปนกิจศพผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโรค COVID-19 ในจังหวัดอุบลราชธานี และศึกษาข้อเสนอรูปแบบการจัดการของพระสงฆ์พี่ประกอบการฌาปนกิจศพผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโรค COVID-19 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Information) คือ พระสงฆ์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการฌาปนกิจศพผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโรค COVID-19 โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวม จำนวน 30 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในการฌาปนกิจศพผู้ป่วยติด COVID-19 และ แนวทางการสังเกตกิจกรรมการฌาปนกิจศพผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโรค COVID-19 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ข้อค้นพบบทบาทของพระสงฆ์  2 ประเด็น คือ 1. มีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในกิจกรรมและพิธีฌาปนกิจศพผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ 1) รับผิดชอบหลักในการรับฌาปนกิจผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโรค COVID-19 2) รับนโยบายและร่วมออกแบบการบริหารจัดการพิธีฌาปนกิจ 3) เป็นผู้ประสานสิบทิศ และ 2. เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ แม้อยู่ในสถานการณ์ที่วิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยนำหลักธรรมไปบูรณาการใช้กับพิธีฌาปนกิจอย่างเหมาะสม มีความสามารถในการจูงใจคนให้ปฏิบัติตามแนวทางพุทธศาสนา และมีความเป็นผู้ที่มีภาวะความเป็นผู้นำสูง โดยข้อเสนอรูปแบบการฌาปนกิจผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโรค COVID-19 วิถีใหม่ ได้แก่ 1) ลดขั้นตอนในการประกอบพิธีศพ และจัดระบบการดำเนินพิธีฌาปนกิจศพที่ปลอดภัยจากการติดเชื้อโรค 2) เตรียมความพร้อมรับฌาปนกิจศพทั้งสถานที่และผู้เกี่ยวข้อง 3) ใช้หลักธรรมพรหมวิหารสี่ 4) มีการประชุมปรึกษาร่วมกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ 5) การจัดระบบสวัสดิการ 6) การสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพระสงฆ์และผู้เกี่ยวข้องก 7) ฝึกทักษะการใช้เครื่องป้องกันการติดเชื้อ และ 8) ควรมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยค่าใช้จ่ายให้กับพระสงฆ์ และผู้เกี่ยวข้อง การศึกษาครั้งนี้จะช่วยเกิดการเตรียมความพร้อมในการประกอบพิธีฌาปนกิจวิถีใหม่ของพระสงฆ์ที่ช่วยให้พระสงฆ์ปลอดภัยจากการติดเชื้อ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนช่วยเหลือพระสงฆ์ในฐานะที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของศาสนาพุทธต่อไป

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระครูโกศลวิหารคุณ , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

จรูญศรี มีหนองหว้า, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

Boromarajonani College of Nursing Sanpasithiprasong

อรุณศรี ผลเพิ่ม , วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

Boromarajonani College of Nursing Sanpasithiprasong

เชาวลิต ศรีเสริม, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

Boromarajonani College of Nursing Sanpasithiprasong

References

กรมการควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นวันที่ 4 เมษายน 2563 จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/introduction.php

กรมการแพทย์. (2564). กรมการแพทย์แนะการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ให้ห่างไกลโควิด 19 แบบ New Normal. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564 จาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02 /152567

โกนิฏฐ์ ศรีทอง, ชลวิทย์ เจียรจิตต์, เบญจมาศ สุขสถิตย์ และชัยวัชร พรหมจิตติพงศ (2564) ความรอบรู้ด้านสุขภาพในคณะสงฆ์ไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 1793-1804.

กุญชพสิฏฐ เสาะหายิ่ง, กาญจนา พนมรัมย, กาญจนา ราดดานจาก, กุณฑิกา ดานกระโทก, ณัฐกานต พลศรี และคมวัฒน รุงเรือง (2564). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน มจร, 9(1), 59-71.

จรูญศรี มีหนองหว้า ไวยพร พรมวงค์ พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน พระใบฎีกาสุพจน์ ตปสีโล พระครูโกศลวิหารคุณ. (2565). แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของพระสงฆ์ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7(1), 817-831.

พระเอกลักษณ์ อชิโต สุภัทรชัย สีสะใบ พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ และพระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร. (2563). บทบาทพระสงฆ์กับงานสาธารณสงเคราะห์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid 19: กรณีศึกษาบทบาทของหลวงพ่อแดง นนฺทิโย วัดอินทาราม จ.สมุทรสงคราม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 9(3) : 289-304.

พระมหาจำนงค์ สิริวณฺโณ (ผมไผ). (2564). แนวทางการจัดการบทบาทพระสงฆ์ในการ ปรับตัวกับสถานการณ์โควิด-19. Journal of Modern Learning Development, 6(1), 395-405.

สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2563). มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับพระภิกษุ สามเณร. สืบค้นวันที่ 4 เมษายน 2563 จาก http://mahathera.onab.go.th/index.php?url=mati&id=9499

Costa, MF. (2020). Health Belief Model for Coronavirus Infection Risk Determinants. Rev Saude Publica. [Internet]. VOL.24 Retrieved on October 23, 2020 from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7190095/

World Health Organization (2020). Novel Coronavirus (COVID-19) Advice for the Public. Retrieved on April 4, 2020 from https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/advice-for-public