ศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเชิงพุทธ : กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุวัดวิสุทธิโสภณ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พระอัครวัฒน์ ญาณโสตฺถิโก (ศิลารัตน์)
สุทัศน์ ประทุมแก้ว
พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากระบวนการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุเชิงพุทธ (2) เพื่อศึกษาการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุวัดวิสุทธิโสภณ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ (3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเชิงพุทธ : กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุ วัดวิสุทธิโสภณ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ จากการศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ  เชิงพุทธ : กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุวัดวิสุทธิโสภณ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเชิงพุทธ มีการบูรณาการแนวคิดการดูแลสุขภาพองค์รวมตามหลักการพระพุทธศาสนาเข้ากับหลักการดูแลสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข พร้อมทั้งนำสถานการณ์ สภาพปัญหา ความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ สาธารณสุขได้แบ่งการดูแลออกเป็น 4 ด้าน คือ (1) ด้านการส่งเสริม (2) การป้องกัน (3) การรักษา และ (4) การฟื้นฟูสภาพ โดยทั้งหมดอยู่ในหลักการของการดูแลสุขภาพองค์รวม และมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงาน และมีผลการดำเนินกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ให้สอดรับเหมาะสมกับบริบทของผู้สูงอายุ ซึ่งองค์ประกอบของผู้สูงอายุประกอบด้วย 5 ด้าน กล่าวคือ 1. ด้านร่างกาย 2. ด้านจิตใจ 3. ด้านสัมพันธภาพทางสังคม 4. ด้านสิ่งแวดล้อม และ 5. ด้านความมั่นคงในชีวิต   ดังนั้น การดูแลสุขภาพจึงเป็นการดูแลรักษาทั้งกายและใจไปพร้อม ๆ กัน เพื่อพัฒนาชีวิตให้ดีงามยิ่งขึ้นไป มีการแก่ เจ็บ และตาย อย่างมีคุณภาพ พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า สิ่งจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ คือ ปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ทรงบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์เป็นอยู่ด้วยการบิณฑบาต การนุ่งห่มผ้าบังสุกุล การอยู่โคนไม้ และการฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ถือประโยชน์และความพอดีเป็นประมาณ ทรงสอนให้รักษาสุขภาพเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสทั้งสุขภาพส่วนตัว ส่วนรวมและต่อสิ่งแวดล้อม แม้แต่บุคคลทั่วไปก็สามารถนำไปปฏิบัติได้เช่นกัน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สุทัศน์ ประทุมแก้ว , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

สำลี รักสุทธี. (2549). ฮีตสิบสองคลองสิบสี่. กรุงเทพฯ: พ.ศ.พัฒนา จำกัด.

ประเวศ วะสี. (2536). แนวคิดและยุทธศาสตร์สังคมสมานุภาพและวิชชา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ ภูมิปัญญา.

พระมหาไกรวรรณ์ ชินทตฺติโย (ปุณขันธ์), และคณะ. (2560). การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรชุมชน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราเชนทร์ วิสารโท, ผศ.ดร. และคณะ. (2559). “บูรณาการพุทธธรรมกับระบบการดูแลสุขภาพระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุของอำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศุภวัลย์ พลายน้อย และเนาวรัตน์ พลายน้อย. (2527). “ผลกระทบของการพัฒนาที่มีต่อปัญหาและความต้องการของประชากรผู้สูงอายุ”. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.